การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างการจัดการคุณภาพห่วงโซ่อุปทาน และการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน กรณีศึกษาผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรม (Canonical correlation analysis between Supply Chain Quality Management and Competitive Advantage: The case study innovative drug manufacturers)

Main Article Content

อนันต์ วัชรดำรงกุล (Anan Watcharadamrongkun)
ประสพชัย พสุนนท์ (Prasopchai Pasunon)

Abstract

              การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการคุณภาพห่วงโซ่อุปทาน และการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน กรณีศึกษาผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรม และ 2) สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างการจัดการคุณภาพห่วงโซ่อุปทาน และการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน กรณีศึกษาผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรม ประชากรในการวิจัยเป็นพนักงานจัดซื้อ และขนส่ง ของผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรม จำนวน 172 คน จากจำนวน 13 บริษัท  เลือกสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ การวิจัยนี้ใช้สถิติพรรณนา โดยศึกษาข้อมูลจากค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสัมพันธ์เขิงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล


               ผลจากข้อมูลการจัดการคุณภาพห่วงโซ่อุปทาน ของผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.610, S.D. = 0.673) โดยมีผล ของการจัดการคุณภาพห่วงโซ่อุปทาน ของผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรม ผลข้อมูลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายปัจจัย ระดับข้อมูลค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กลยุทธ์คุณภาพห่วงโซ่อุปทาน (ค่าเฉลี่ย = 3.758, S.D. = 0.669) ในปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (ค่าเฉลี่ย = 3.481, S.D. = 0.638)


               ผลจากข้อมูลการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ของผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรมอยู่ในระดับที่สูงมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.656, S.D. = 0.671) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายปัจจัย ระดับข้อมูลค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  ความน่าเชื่อถือของการส่งมอบ (ค่าเฉลี่ย = 3.692, S.D. = 0.659) ในปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ราคา/ ต้นทุน (ค่าเฉลี่ย = 3.586, S.D. = 0.671)


               การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างการจัดการคุณภาพห่วงโซ่อุปทาน และการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน กรณีศึกษาผู้ผลิตยาบัญชีนวัตกรรม มีค่า RC2 เท่ากับ 0.846 แสดงค่าความแปรปรวนร่วมกันระหว่างตัวแปรคาโนนิคอลทำนาย กับตัวแปรคาโนนิคอลเกณฑ์ ที่ 84.6 เปอร์เซ็นต์


                 This research aimed to study 1) The Supply Chain Quality Management level and Competitive Advantage case study of innovative drug manufacturers and 2) Canonical correlation between Supply Chain Quality Management and Competitive Advantage case study of innovative drug manufacturers. The population of the research was the purchasing and transportation staffs 172 people of innovative drug manufacturers from 13 companies. The research used the method sampling to select the floor tools used for data collection. By studying data from statistic mean, standard deviation, Pearson Correlation Coefficient and canonical correlation analysis.


               Result from Supply Chain Quality Management information of innovative drug manufacturers shown that innovative account at a high level (  gif.latex?\bar{x} = 3.610, S.D. = 0.673) with the effect of quality management in the supply chain of pharmaceutical manufacturers. When we considered separately into two factors, we found the highest average data level was the supply chain quality strategies ( gif.latex?\bar{x}= 3.758, S.D. = 0.669). Another factors show in the lowest average factor, the support Human Resources Development ( gif.latex?\bar{x}= 3.481, S.D. = 0.638)


               The Competitive Advantage data of the case study innovative drug manufacturers, innovative account at a high level ( gif.latex?\bar{x} = 3.656, S.D. = 0.671) when considering individually the highest average data level was Delivery Dependability (gif.latex?\bar{x}  = 3.692, S.D. = 0.659) in the factors with the lowest mean, Price/ Cost (gif.latex?\bar{x} = 3.586, S.D. = 0.671)


               Canonical correlation analysis between Supply Chain Quality Management and Competitive Advantage case study of innovative drug manufacturers had the value RC2 which is about 0.846, showing the common variables between predicted canonical variables. Canonical variable had the criterion and composite variables 84.6 percent.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts