การพัฒนารูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานTHE DEVELOPMENT OF PROFESSIONAL ADMINISTRATIVE COMPETENCY TRAINING MANAGEMENT MODEL FOR THE ADMINISTRATORS OF THE BASIC EDUCATION SCHOOL

Main Article Content

Paphada Sanohpin
paphada sanohpin

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้1)สังเคราะห์รูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2)ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ3)ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิธีดำเนินการวิจัยดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารเพื่อกำหนดกรอบในการ ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ตารางการวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและแนวทางการพัฒนาโดยการฝึกอบรม จัดกระทำข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา

การศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1 เขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้บริหาร มืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .965 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น

สร้างรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .85 -1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหาร มืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการทดลองการใช้รูปแบบการจัดการฝึกอบรมโดยใช้        แผนการทดลองแบบ One-Shot Case Study กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกสมาคมผู้บริหารการศึกษาอำเภอบางเลน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง.85-1.00 แบบสอบถามความพึงพอใจซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .85-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .950 แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .85-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหาร    มืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1 เขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมี ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80-1.00และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .951

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา          ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย หลักการ  การกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม  การจัดการฝึกอบรม(หลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรม) และการวัดและประเมินผล คุณภาพของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับดีมาก( = 4.57, SD =.42)

2. ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 85.00 มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับดีมาก มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 85.00 มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก

3. รูปแบบการจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพสำหรับผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้อยู่ในระดับมาก( = 4.47, SD =.51) และ ( = 4.43, SD =.54)

 

 

 

Abstract

The purposes of this research was to develop of training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education, as follows 1) to synthesis training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education, 2) study efficiency of training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education, and 3)study effectiveness of training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education.

The method of this research was three stages as follow :

The stage 1, the synthesis training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education consisted of the document analysis for setting need to develop professional administrators’ competency. The research instruments were the document analysis table about professional administrators’ competency for the administrators of basic education and the guideline to develop of training. The statistical analysis employed were analysis and synthesis data.

The study of need to develop professional administrators competency for the administrators of basic education. The sampling subject were 176 administrators from the school under the jurisdiction Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 and 2, and the Secondary Educational Service Area Office 9. The research instruments were questionnaire about need to develop professional administrators competency for the administrators of basic education that had consistency index between .80 - 1.00 and had reliability as .965. The analysis data by mean and the index of needs.

Setting the training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education. The sampling subject were 7 administrators. The research instruments were assessment form for the training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education that had consistency index between .85 - 1.00. The analysis data by mean and standard deviation.

The stage 2, the study efficiency of training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education. There was an experimental the model by using One-Shot Case Study. The sampling subject were 20 members of Association of Educational Administrators Bang Len. The research instruments were the cognitive assessment form had consistency index between .85 - 1.00, the satisfaction questionnaire that had consistency index between .85 - 1.00 and reliability as .950, the participation observation form had consistency index between .85 - 1.00. The statistical analysis  employed  were mean and standard deviation.

The stage 3, the study effectiveness of training management to enhance professional administrators competency model for the administrators of basic education. The sampling subject were 176 administrators from the school under the jurisdiction Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 and 2 and the Secondary Educational Service Area Office 9. The research instruments were the questionnaire form of appropriate and possible to implement the model that had consistency index between .80 - 1.00 and reliability as .951

The research findings were:

1.The model of training management to enhance professional administrators competency for the administrators of basic education consisted of principles, defining the purpose of training, management of training (Training courses and User Training) and assessment. Quality of professional administrative competency training management model for the administrators

of the basic education school had very good level ( = 4.57, SD =.42)

2. 85.00 percentages of trainees had very good cognitive level, they had satisfied toward training at the high level and 85.00 percentages of trainees had very good participation about the training activities.

3. The model of training management to enhance professional administrators’ competency for the administrators of basic education had appropriate and possible to implement the model at the high level. ( = 4.47, SD =.51) and ( = 4.43, SD =.54)

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biographies

Paphada Sanohpin, โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ เลขที่ 256 หมู่ 2 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

ผู้อำนวยการสถานศึกษา  โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9

paphada sanohpin, โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ เลขที่ 256 หมู่ 2 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์