การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด / THE DEVELOPMENT OF ELECTRONIC BOOK TO DEVELOP READING SKILLS THAI LANGUAGE PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS BANNONGKED SCHOOL

Main Article Content

Jarassom Panboot

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถูประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด  ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  3) เพื่อวัดทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านหนองเค็ด  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556 จำนวน 25 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เชี่ยวชาญ  4)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  5) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย  6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีประสิทธิภาพ 84.88/82.27  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 23.87  3)  ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด  หลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.16  อยู่ในช่วง 25-30 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ระดับดี  4) ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด  อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 , = 0.44)

 

Abstract

The purpose of this research were : 1)  to develop an electronic book on enunciation Thai language of Prathomsuksa 6 students to efficiency.  2) to compare the achievement before and after study using the electronic book on enunciation Thai language of Prathomsuksa 6 students Bannongked school.  3) to measurement of enunciation skills Thai language of Prathomsuksa 6 students Bannongked school. 4) to study satisfaction in studying with the electronic book on enunciation Thai language of Prathomsuksa 6 students Bannongked school. The population in this research were 25 students in Prathomsuksa 6 students Bannongked school in the second semester, academic year 2013.  The research instruments were  1) Structured interview form.  2) Electronic book on enunciation Thai language of Prathomsuksa 6.  3) The evaluate quality form of electronic books for the specialists.  4) The learning achievement test on enunciation Thai language of Prathomsuksa 6.  5) The measurement of enunciation skills Thai language form.  6) The satisfaction form in studying with electronic book on enunciation Thai language of Prathomsuksa 6 students. The data analysis were mean, standard deviation and t-test of dependent

The results were as follows : 1) Electronic book on enunciation Thai language of Prathomsuksa 6 students effective 84.88/82.27 Which meets the specified criteria.  2) The students’ achievement after learning with electronic book on enunciation Thai language higher than before learning at 23.87 percent.  3) The students’ enunciation skills Thai language of Prathomsuksa 6 Bannongked school an average score of 25.16 in the 25-30 score was good level.  4) The students’ satisfaction in studying with the electronic book on enunciation Thai language was most level. ( = 4.53 , = 0.44)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ