ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องมาตราตัวสะกด ที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีระดับความสามารถในการอ่านแตกต่างกัน

Main Article Content

Thitinunt Supthamrong

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์75/75  2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ที่มีระดับความสามารถในการอ่านแตกต่างกัน  3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนบางแค(เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์) ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  คัดมาจำนวน 30 คน  จาก 4 ห้อง โดยการเลือกจากคะแนนการอ่านแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ  กลุ่มเก่ง  กลุ่มกลาง  กลุ่มอ่อน  กลุ่มละ  10  คน

 

                                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถในการอ่านแตกต่างกัน  2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถในการอ่านแตกต่างกัน 3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่าน ซึ่งเป็นคำที่นำมาจาก บัญชีคำพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ        4) แบบสอบถามความพึงพอใจ เรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถทางการอ่านแตกต่างกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าที (t-test แบบ dependent)

                                ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดลองใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนที่มีระดับความสามารถในการอ่านแตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่างเรียนเท่ากับ  76.54 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.23 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถในการอ่านของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 47.87 และหลังเรียนเท่ากับ 60.13 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก โดยแบ่งเป็นกลุ่ม คือ กลุ่มเก่งก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 55.00 และหลังเรียนเท่ากับ 66.50 โดยมีค่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าค่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มกลางก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 44.80 และหลังเรียนเท่ากับ 57.60 โดยมีค่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าค่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มอ่อนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.80 และหลังเรียนเท่ากับ 56.30 โดยมีค่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าค่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.62  โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Thitinunt Supthamrong

ครูชำนาญการ/กรุงเทพมหานคร