การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง (Cultural Landscape Management Of Kadkongta, Lampang)

Main Article Content

ปกรณ์ วนชยางค์กูล (Pakorn Vanachayangkul)
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล (Chaiyasit Dankittikul)

Abstract

                 กาดกองต้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดลำปาง ด้วยศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ เช่น อาคาร และบ้านเรือนที่ได้รับอิทธิพลมาจาก 2 ชาติ พันธุ์ใหญ่ ๆ คือ จีน กับยุโรป เนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางการค้าทางน้ำที่สำคัญของภาคเหนือ ทำให้มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งถิ่นฐาน ส่งผลให้ชุมชนกาดกองต้าได้รับเอาอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาผสมผสานแสดงผ่านออกมาในรูปแบบสิ่งก่อสร้าง อาคารและบ้านเรือน ต่อมาความเจริญในด้านต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสังคมไทย  รวมทั้งจังหวัดลำปาง ทำให้ทัศนียภาพของพื้นที่อนุรักษ์อย่างชุมชนกาดกองต้าได้รับผลกระทบจากความเจริญทางเศรษฐกิจ และ กระแสการพัฒนาของเมืองรุกเร้า จากปัญหาที่แฝงมากับความเจริญของสังคมไทยนี้ทำให้งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงคุณค่าและปัญหาในด้านต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง โดยการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ พบว่าพื้นที่ชุมชนกาดกองต้าได้รับผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างชัดเจนจากอาคารตึกแถวที่มีสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ ป้ายร้านค้าและโฆษณาต่าง ๆ จากการผลการศึกษานี้นำไปสู่การนำเสนอแนวทางการจัดการดูแลรักษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนกาดกองต้าอย่างยั่งยืนประกอบด้วย การดูแลรักษาการรักษาให้คงสภาพ การปรับประโยชน์ใช้สอย และ การพัฒนาและสร้างสรรค์ใหม่ โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงของสถานที่กับผู้คน ทั้งกิจกรรมของชุมชน และ กิจกรรมของนักท่องเที่ยวให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และจะทำให้ชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปางเป็นชุมชนที่คงความเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนที่แท้จริง


 


                Kadkongta is an important economic tourism attraction of Lampang province in concerning with arts and old architecture which attract many tourists. The Architecture was influenced by Chinese and European culture, which inherited from the previous trading condition of Lampang in the past, which led to contain the diversity of ethnics and cultures. Nowadays the civilization makes many changes to Thailand including Lampang province and affect the cultural landscape of Kadkongta. Base on side effect of prosperity of the city, lead this research aims to study history and traditional cultural landscape of Kadkongta since the past to the present, to make the guidelines for managing cultural landscape of Kadkongta in Lampang province by survey and collect the data. From the quantitative data it was found that Kadkongta community areas were affected physically by changed of the old building to modern architecture. From this finding lead to propose a guideline for sustainable management of Kadkongta cultural landscape, consisting of Keeping, Maintaining, Adaptation and Development in considering of connect peoples with the meaning and spirit place including both of community activities and tourist activities and these will make Kadkongta to be a valuable sustainable cultural landscape.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts