แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญา ผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชนชาวไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

jaranda janjam

Abstract

แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญา              ผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชนชาวไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

Approach to the Enhancement of People Participation in Jok Weaving Wisdom Transmission to Local Youth at Thai-Yuan Community, Tambon Kubua, Amphur Mueang, Changwat Ratchaburi

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าจกของชุมชนชาวไท-ยวน 2) ศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชนชาวไท-ยวน และ 3) ค้นหาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอด ภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชนชาว            ไท-ยวน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบริบทภูมิปัญญาการทอผ้าจก โดยการสัมภาษณ์ปราชญ์ภูมิปัญญาและผู้นำท้องถิ่น จำนวน 6 คน ขั้นตอนที่ 2 ระดับการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจก โดยการสอบถามตัวแทนครัวเรือน จำนวน 130 คน ด้วยแบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 3 ค้นหาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชน โดยวิธีการสนทนากลุ่มจากตัวแทนภาคีภายในชุมชน จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษา พบว่า 1) ภูมิปัญญาการทอผ้าจกของชุมชนชาวไท-ยวน ตำบลคูบัว มีการสืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สะท้อนผ่าน ลายผ้า อันแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ด้วยเทคนิคการทอผ้าเฉพาะตัว คือการจกเส้นด้ายลงบนผ้าทอด้วยขนเม่น และมีความสำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชนชาวไท-ยวน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  (= 2.22, S.D.= 0.95) และ 3) แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชน พบว่า มี 5 แนวทาง ดังนี้ 1) เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านภูมิปัญญาการทอผ้าจกให้กับประชาชนภายในชุมชน 2) เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความพร้อมในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชน 3) สร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ทอผ้าจก เครือข่ายภูมิปัญญาการทอผ้าจก และเครือข่ายเยาวชนภายในชุมชน 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าจกสู่เยาวชน 5) องค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มทอผ้า และโรงเรียนร่วมจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนด้านกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชน โดยมีปัจจัยและเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้เกิดการพัฒนาแนวทาง ได้แก่  ผู้นำชุมชน  สมาชิกชุมชน กลุ่มทอผ้าจก การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก  และเงื่อนไข ประกอบด้วย เวลา ความสามัคคี ความเหมาะสมของกิจกรรม รายได้ อาชีพ เครือข่ายระหว่างหมู่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Abstract

The purposes of this research were to 1) study Jok Fabric weaving wisdom of Tai Yuan community. 2) study the levels of public participation in the imparting Jok Fabric weaving wisdom to Tai Yuan community youth. 3) explore guidelines for strengthening public participation in the imparting Jok Fabric weaving wisdom to Tai Yuan community youth in Khu Bua sub-district of Ratchaburi province. The study consisted of 2 steps. The first step was the study of context and levels of participation in the imparting Jok Fabric wisdom to community youth through interviews with local wise men and leaders in conjunction with the use of questionnaires with 130 community household representatives the second step was the exploration of guidelines for strengthening public participation in the imparting Jok Fabric wisdom to community youth through a focus group interview with 16 community representatives. Data were analyzed qualitatively and quantitatively. Statistics used included percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, and content analysis.

                 It was found from the study that 1) Jok Fabric weaving wisdom of Tai Yuan community in Khu Bua sub-district has been community’s unique identity reflecting way of life based on its historical background. The wisdom was found significant to the community culturally, socially, economically and politically.  2) Overall participation in the imparting Jok Fabric weaving wisdom to Tai Yuan community youth was at a low level (=2.22, S.D.=0.95). When comparing the levels of public participation in the imparting Jok Fabric weaving wisdom to community youth among respondents’ differences were found with statistical significance at a level of .05 among sexes and overall status. Based on One-Way ANOVA analysis, differences were found without statistical significance at a level of .05 among education, ages and occupations. 3) There were 5 approaches to the strengthening of public participation. 1) Expanding channels of public relations to publicize knowledge and information about Jok fabric weaving wisdom. 2) Opening opportunities for any people who were ready in the community to participate in transferring Jok fabric weaving wisdom  to youth. 3) Forming network of Jok fabric weaving groups, Jok fabric weaving wisdom groups, and youth groups for coordination with external concerned groups. 4) Arranging the activities promoting Jok fabric weaving wisdom to youth. 5) The sub-district organization, Jok fabric weaving group, and schools should allocate budget to support arranging activities. Factors encouraging the development included community leaders, community members a group of Jok Fabric weaving, support from external agencies and development conditions comprising time, unity, activity appropriateness, income, occupations, community network and relevant agencies.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

jaranda janjam

KASETSART UNIVERSITY