การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก/The Development of an Quality Assurance Management Network Model for Small Basic Education School

Main Article Content

Anunat Chuenjit

Abstract

อนุนาถ   ชื่นจิตร์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับ

            สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก.กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

                อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: ดร.ประเสริฐ   ประวัติรุ่งเรือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์  โพธิสาร.

 

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ดังนี้ 1) กำหนดสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก 2) สร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก วิธีดำเนินการวิจัยดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1  กำหนดสภาพปัญหาและ     ความต้องการรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก จากการวิเคราะห์เอกสารที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดประเด็นของแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพและความต้องการในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาจากจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน และครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 175 โรงเรียน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการการพัฒนาโดยการหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติและค่าเฉลี่ยนของความต้องการ  ขั้นตอนที่ 2  สร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก โดยจัดทำร่างรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กจากข้อมูลในขั้นตอนที่ 1เพื่อนำไปตรวจสอบความสมบูรณ์โดยจัดสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา 5 คน ด้านการประกันคุณภาพ 5 คน และด้านการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษา 4 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แล้วปรับปรุงรูปแบบนำไปตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   ขนาดเล็ก ทำการคัดเลือกสถานศึกษาเครือข่ายด้วยความสมัครใจ 5 โรงเรียน เพื่อทดลองใช้รูปแบบ ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม ถึง วันที่ 22 กันยายน 2557 แล้วศึกษาประสิทธิผลโดยใช้แบบติดตามตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม และ  ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก  จากความคิดเห็นของผู้บริหารจากโรงเรียนเครือข่าย 5 คน  ครูจากโรงเรียนเครือข่าย โรงเรียนละ 2 คน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนเครือข่าย โรงเรียนละ 2 คน  รวมทั้งหมด 25 คน ทำสอบถามความเป็นไปได้และ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารเครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

ผลการวิจัย  พบว่า

  1. การกำหนดสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพ

ภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กพบว่า ปัญหาของการดำเนินงานของเครือข่ายสถานศึกษาคือไม่มีการกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน  บริบทและความต้องการของโรงเรียนภายในเครือข่ายต่างกัน คณะกรรมการเครือข่ายขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ครูและบุคลากรอื่นไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเครือข่าย และการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็กยังขาดประสิทธิภาพ  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความต้องการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโดย            การดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายสถานศึกษา

  1. รูปแบบการการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1)นโยบาย 2)จุดมุ่งหมาย 3)การสร้างเครือข่าย                         4) วิธีดำเนินการบริหารจัดการเครือข่าย และ 5)การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย

  1. ผลการปฏิบัติงานตามองค์ประกอบของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายทั้ง 5 โรงเรียน อยู่ใน

ระดับดีขึ้นไปทุกองค์ประกอบ

  1. รูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก ( =4.17 , SD=0.70 และ =4.17 , SD = 0.70  ตามลำดับ)

คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพ   สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

ANUNAT  CHUENJIT. (2014) THE DEVELOPMENT OF NETWORK ADMINISTRATION INTERNAL

            QUALITY ASSURANCE MODEL FOR THE SMALL SCHOOLS OF BASIC EDUCATION.

            Bangkok: Graduate School North Bangkok University. THESIS  ADVISORS: PRASERT

            PRAWATRUNGROENG, Ph.D., AND ASST. PROF. PHAITOON  PHOTHISAN Ph.D.

The research of the development of network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education. The purposes were  1) to set the problems state and need the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education,2) to construct the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education, 3) to study efficiency of network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education, and 4) to evaluate the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education. The methods of research had 4 stages follow these;             stage 1: The setting of problems stage and need the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education consisted of the document analysis were related the concepts, theories and researches for setting the issues of opinions, the setting elements of the model from studying the administrators and the teachers’ opinions in the small schools of basic education from the questionnaires about the construction networking internal quality assurance and need to develop quality education. The sample are administrators and teachers from 175 schools. The research instruments were the questionnaires need for the development internal quality assurance model and the network internal quality assurance for the small schools of basic education that had reliability as 0.87. The analysis data by mean and standard deviation. stage2: The construction network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education consisted of the drafting network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education for using the issues in focus group discussion. The focus group discussion by the experts, five experts from administrator, five experts from quality educations and four experts from constructer of education. The research instrument was the issues for focus group discussion. The conclusion from the focus group discussion to construct the network administration internal  quality assurance model for the small schools of basic education and verifing the model by five experts.   The research instrument was the evaluation form for the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education. stage 3: The studying efficiency the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education consisted of the selecting five schools network by voluntariness for trying the model and studying efficiency the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education from 5th August 2014 until 22th September 2014. The research instrument was the monitoring quality education form of Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office. And stage 4: The evaluation the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education. The evaluation network administration model from the five administrators from the schools network, ten teachers from the five schools network and the ten basic education boards from the schools network. They were twenty-five persons. The asking the possibility and the useful of the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education.

            The result of research found that;

            1.  The problem of the construction network schools are; the construction network schools didn’t specify goal, context and requirement are different, the committee of the construction network misunderstood about working, the educational personnel didn’t participate in working of the construction work and the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education didn’t have efficiency. So, the administrator and the educational personnel of school should develop the system of the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education.

            2. The construction the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education consisted of five elements; 1) policies, 2) goals, 3) the construction network, 4) the methods of network administration and 5) the construction strengthening of network.

            3. The studying efficiency the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education found that the five schools network had the performance according to the elements of monitoring the quality of education by internal quality assurance system had good level every element.

            4. The evaluation the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education found that the network administration internal quality assurance model for the small schools of basic education had possibility and useful at the good level ( =4.17 , SD=0.70 และ =4.17 , SD = 0.70)

 

Key Words: The network administration quality assurance model, the small schools

                 of basic education.

�ร๦ �� �� �่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

 

ผลการวิจัย  พบว่า

  1. การกำหนดสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพ

ภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กพบว่า ปัญหาของการดำเนินงานของเครือข่ายสถานศึกษาคือไม่มีการกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน  บริบทและความต้องการของโรงเรียนภายในเครือข่ายต่างกัน คณะกรรมการเครือข่ายขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ครูและบุคลากรอื่นไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเครือข่าย และการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็กยังขาดประสิทธิภาพ  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความต้องการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโดย            การดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายสถานศึกษา

  1. รูปแบบการการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1)นโยบาย 2)จุดมุ่งหมาย 3)การสร้างเครือข่าย                         4) วิธีดำเนินการบริหารจัดการเครือข่าย และ 5)การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย

  1. ผลการปฏิบัติงานตามองค์ประกอบของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายทั้ง 5 โรงเรียน อยู่ใน

ระดับดีขึ้นไปทุกองค์ประกอบ

  1. รูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก ( =4.17 , SD=0.70 และ =4.17 , SD = 0.70  ตามลำดับ)

คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพ   สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Anunat Chuenjit

Director of Thairath Wittaya70 School  Samutsongkhram Primary Education Service Area Office