ภาพลักษณ์ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ในมุมมองของบุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

Nisakorn Hirunyawanich

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ ภาพลักษณ์ ความคาดหวังของบุคคลภายนอกที่มีต่อสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลภายนอกซึ่งกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนทั้งสิ้น 551 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งหมดรู้จักสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดยรู้จักผ่านบุคคลมากที่สุด ส่วนใหญ่รู้จักและไม่เคยใช้บริการงานด้านต่างๆ ของสถาบันฯ ทั้งหลักสูตร งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มนี้มีภาพลักษณ์ของสถาบันฯ ที่ดีทั้งในด้านหลักสูตร งานวิจัย งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานบริการการวิชาการ และบุคลากร 2) กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียส่วนใหญ่รู้จักสถาบันฯ ก่อนที่จะเข้ามาศึกษา โดยรู้จักสถาบันจากบุคคลมากที่สุด ส่วนใหญ่รู้จักและเคยใช้บริการทางด้านหลักสูตร รองลงมา คืองานวิจัย และงานบริการวิชาการ  ส่วนใหญ่รู้จักแต่ไม่เคยใช้บริการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มนี้มีภาพลักษณ์ของสถาบันฯ ที่ดีในทุกด้าน 3) กลุ่มนักศึกษาปริญญาตรีส่วนใหญ่รู้จักสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดยรู้จักจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดลมากที่สุด ส่วนใหญ่รู้จักและไม่เคยใช้บริการงานด้านต่างๆ ของสถาบันฯ ทั้งหลักสูตร งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มนี้มีภาพลักษณ์ของสถาบันฯ ที่ดีในด้านบุคลากร และความน่าเชื่อถือทางวิชาการ ดังนั้น ภาพลักษณ์สถาบันฯ ที่ดี คือความน่าเชื่อถือของการบริการด้านต่างๆ และบุคลากร ส่วนช่องทางการสื่อสารของทั้ง 3 กลุ่ม คือ สารมหาวิทยาลัย บุคลากรของสถาบันฯ และเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยทุกกลุ่มให้ข้อเสนอแนะตรงกันในเรื่องของการเพิ่มการประชาสัมพันธ์สถาบันฯให้เป็นที่รู้จัก  ดังนั้น สถาบันฯ ควรเร่งดำเนินงานประชาสัมพันธ์โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ