กริยาที่ปรากฏร่วมกับรูปสรรพนามในภาษาฝรั่งเศส

Main Article Content

สุดารัตน์ พุทธพงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

แม้ภาษาฝรั่งเศสจะต่างกับภาษาไทยทั้งในเรื่องตระกูลภาษาและประเภทภาษา แต่โครงสร้างประโยคนั้นมีลักษณะเดียวกัน ภาษาฝรั่งเศสมีกริยาจำพวกหนึ่งที่ไม่พบในภาษาไทย คือ กริยาที่ปรากฏร่วมกับรูปสรรพนาม (Les verbes pronominaux) กริยาชนิดนี้มีตำแหน่งอยู่หลังสรรพนามที่ผันตามประธาน แบ่งได้ 2 ประเภท คือ (1) กริยาที่ประกอบด้วยสรรพนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น (1.1) กริยาที่ต้องประกอบด้วยสรรพนาม (Les verbes essentiellement pronominaux) และ (1.2) กริยาที่ไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยสรรพนาม (Les verbes pronominaux autonomes) และ (2) หน่วยสร้างกริยาที่ประกอบด้วยสรรพนาม (Les verbes à la construction pronominale หรือ Les verbes occasionnellement pronominaux) ซึ่งแบ่งออกเป็น (2.1) ลักษณะที่ให้ความหมายสะท้อนเข้าหาตัวประธาน (sens réfléchi) (2.2) ลักษณะที่ให้ความหมายว่าประธานมีการกระทำต่อกัน (sens réciproque) และ (2.3) ลักษณะที่ให้ความหมายว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (sens passif) กริยาดังกล่าวต้องปรากฏร่วมกับสรรพนามเสมอ มิฉะนั้นกริยาจะผิดความหมายและไม่สื่อความ วิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจำแนกกริยาที่ปรากฏร่วมกับรูปสรรพนามเหล่านี้ออกจากกัน คือ การจดจำความหมายและรูปกริยา สำหรับประเภทที่ 1 รวมทั้งการสังเกตพจน์และอรรถลักษณ์ของประธานว่าเป็นสิ่งที่มีหรือไม่มีชีวิต ตลอดจนการปรากฏของกริยาวิเศษณ์ในประโยคที่ช่วยขยายความลักษณะการกระทำของกริยา และความหมายในบริบทที่มีต่อกริยา สำหรับประเภทที่ 2 

Abstract

Although French is different from Thai both in terms of language family and language typology, their word orders are of the same characteristics. French has a type of verb (Les verbes pronominaux) that is not found in Thai. This type of verb is positioned after pronouns that change according to the subjects. It can be categorized into two categories: (1) verbs that consist of pronouns, which can be further divided into (1.1) verbs that need to consist of pronouns (Les verbes essentiellement pronominaux) and (1.2) verbs that do not need to consist of pronouns (Les verbes pronominaux autonomes), and (2) verb construction units that consist of pronouns (Les verbes à la construction pronominale or Les verbes occasionnellement pronominaux). The latter can be divided into: (2.1) reflexive (sens réfléchi) (2.2) reciprocal (sens réciproque) and (2.3) passive (sens passif). These verbs must always appear with pronouns; otherwise, the verbs will have different meanings and are not communicative. One method used to categorize these types of verbs from one another is remembering the meanings and forms for the first category (1) and observing numbers, semantic feature (animated or non-animated subjects), and the appearance of adverbs that determine the actions of the verb and meaning in context for the second category (2).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

สุดารัตน์ พุทธพงษ์

อาจารย์ ดร. ประจำสาขาวิชาภาษาาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก