การสำรวจภาวะการมีงานทำและความพึงพอใจของผู้จ้างงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ธีระวัฒน์ จันทึก
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า
นภนนท์ หอมสุด

Abstract

บทคัดย่อ

การสำรวจภาวะการมีงานทำและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านคุณลักษณะของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต รวมถึงปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ตลอดจนปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) บัณฑิตในระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 841 คน และบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 135 คน 2) ผู้จ้างงานบัณฑิตในระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 422 คน และระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 68 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Crosstab-chi-square และ Multiple Regressions

            ผลการศึกษาศึกษาปรากฏว่า บัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิตที่ได้งานทำส่วนใหญ่เป็นสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รองลงมาคือ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไปตามลำดับ สำหรับระดับบัณฑิตศึกษาได้งานทำส่วนใหญ่เป็นสาขาวิชาการประกอบการ รองลงมาคือ การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ตามลำดับ ในขณะที่ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา พบว่า ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รวมถึงด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านความรู้ และผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และหากพิจารณาถึงผลการศึกษาปัจจัยทางด้านคุณลักษณะของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต พบว่า ปัจจัยด้านระดับความคุ้นเคยของบัณฑิต มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้บัณฑิต

สำหรับปัจจัยด้านการบริหารงานที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต พบว่า คุณลักษณะด้านความรู้เป็นตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการทำนายความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมากที่สุด ในขณะที่ผลการศึกษาปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต พบว่า คุณลักษณะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบเป็นตัวแปรที่สามารถทำนายความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมากที่สุด ดังนั้นคณะวิทยาการจัดการจะต้องให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาความรู้ของบัณฑิตให้มากขึ้น ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในหลักการ แนวคิด ทฤษฏี ความรู้ในวิชาชีพ การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาชีพ ตลอดจนความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นผู้นำ

 

Abstract

This survey on employment status and satisfaction of employers conducted by Faculty of Management Science, Silpakorn University, aims to study characteristic factors of employers in Bachelor and Master levels influencing on satisfaction of employers as well as administrative factors influencing on satisfaction of employers. The samples used in this research were divided into 2 parts 1) graduates: Bachelor levels on 841 people and Master levels on 135 people. 2) Employers: Bachelor levels on 422 people and Supervisors of Master levels on 68 people. The samples used in this research were Nonprobability sampling Purposive. The tools used were a questionnaire. The statistics used in this research were frequency, percentage, mean and standard deviation. Crosstab chi-square and Multiple Regressions.

            The result of a study on employment status of graduates in Bachelor and Master Levels showed that most graduates who worked as freelancers graduated in Public Administration Program followed by Tourism Management Program, Business Management and English Program, and General Business Management, respectively. For Master Degree, it was found that most graduates who worked as freelancers graduated in Entrepreneurship Program, followed by Public and Private Management Program, and Public Administration Program, respectively. For satisfaction of employers in Bachelor and Master levels, it was found that, in overall, their opinions toward desirable characteristics of graduates on virtue, wisdom, interpersonal skills and responsibility, and numerical analysis skills, were in the highest level. In addition, in overall, their opinions toward desirable characteristics of graduates on knowledge and development of graduates upon their identities were in high level.  

When considering on the results of a study on characteristic factors of employers in Bachelor and Master levels influencing on satisfaction of employers, it was found that factors on familiarity of graduates influenced on overall satisfaction of employers. For administrative factors influencing on satisfaction of employers, it was found that characteristic on knowledge was the most efficient factor for forecasting satisfaction of employers. For the result of a study on factors on virtue and ethics influencing on satisfaction of employers, it was found that characteristics on interpersonal relationship and responsibility were variables that could forecast satisfaction of employers in the highest level. As a result, Faculty of Management Science must emphasize on developing knowledge of graduates on understanding and knowledge on principles, concepts, and theories for occupation, application of knowledge for solving work problems, performing their assignments correctly according to occupational principles, confidence on decision making, and leadership, etc.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ธีระวัฒน์ จันทึก

รองคณะบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากร