การนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พิมพ์ธีรา อายุวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาปัจจัยเงื่อนไขของความสำเร็จในการนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) ศึกษาแนวทางการนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 1) การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากร คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานภายในจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2557 คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสำเร็จของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 375 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2) การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) 2 กลุ่ม วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis) โดยการจำแนกชนิดของข้อมูล (Typological Analysis) และทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Method)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับความคิดเห็นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ทุกปัจจัยส่งผลต่อการนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)จังหวัดสุพรรณบุรีในมิติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นลำดับที่หนึ่งคือปัจจัยด้านเจตคติ ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นลำดับสุดท้ายคือปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารและปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม

2. ปัจจัยเงื่อนไขของความสำเร็จในการนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในจังหวัดสุพรรณบุรี จากการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโอ่ง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า มีกระบวนการต่างๆที่ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ คือ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม การมีแรงจูงใจและเจตคติที่ดีในการทำงาน การติดต่อสื่อสารและประสานงาน การมีผู้นำที่มีศักยภาพ การสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม การเสริมสร้างความรู้ ความสามารถในการทำงาน การติดตามและประเมินผล มีโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นระบบ  มีการวางแผนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. แนวทางการนำนโยบายเมืองไทยแข็งแรงไปสู่การปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผล พบว่า การที่จะปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันคิดวิเคราะห์และร่วมกันสร้างกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ การมีทักษะในการวางแผนและแก้ปัญหา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆทั้งด้านการให้ความรู้ ด้านวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน การสร้างขวัญกำลังใจในรูปแบบต่างๆ มีการพัฒนาองค์ความรู้ของ อสม. โดยพัฒนาให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีระเบียบหรือกฎหมายรองรับสถานะความเป็น อสม. มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม สร้างความสามัคคี ความผูกพันให้ อสม.

 

Abstract

This research aims to 1) explore factors affected the Healthy Thailand Policy Implementation of Village Health Volunteers in Suphan Buri Province. 2) examine factor conditions towards the success of Healthy Thailand Policy Implementation of Village Health Volunteers in Suphan Buri Province, and 3) the guidelines of Healthy Thailand Policy Implementation of Village Health Volunteers for efficient performance. The research procedure consisted of two parts. In the first part, Quantitative Research ; the population is Village Health Volunteers who work in year 2014  at Suphan Buri Province.  Krejcie and Morgan and the multi-stage random sampling were employed to estimate the sample size. The 375 samples were selected for the study. The research instrument was a five rating scales questionnaire. Statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, and standard deviation. In the second part, Qualitative Research ; the sample is two groups of Village Health Volunteers in Suphan Buri Province by using in-depth interview. Data were analyzed by content analysis, typological analysis and triangulation method. 

The results were as follows:

1.  Every factor affected the Healthy Thailand Policy Implementation of Village Health Volunteers in Suphan Buri Province was at a high level of all aspects.  For individual aspect, motivation factor was ranked highest, and communication and team working was at last.

2.  Factor conditions towards the success of Healthy Thailand Policy Implementation of Village Health Volunteers in Suphan Buri Province. From a study of best practices in the implementation of village health volunteers ; Village no.9 , Nong-Ong Sub-district, U-Thong district, Suphan Buri province. The data found that the process putting work into action came successfully from social support, motivation and positive attitude to work, communication and coordination, having a potential leader, network building, participating, team working, reinforce potential working, monitoring and evaluating, having work structure system,  planning and knowledge sharing.

3. The guidelines of Healthy Thailand Policy Implementation of Village Health Volunteers for efficient performance. Getting success in work needs to have several factors : brainstorming and critical thinking, cooperating in public health activity, having planning and problem solving skills, knowledge sharing, , getting support from other offices such as training, material support, encouraging in various ways, knowledge development and training of Village Health Volunteers for management, setting rules and disciplines for Village Health Volunteers and their understanding of working in team, being unity of engagement and having close to Village Health Volunteers.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ