แนวทางการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

ธรัช อารีราษฎร์
ละอองทิพย์ มัทธุรศ
มนต์ชัย เทียนทอง
ดุษณี ศุภวรรธนะกุล

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์แนวทางการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบัน อุดมศึกษา และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อแนวทางการดำเนินงาน  กรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ครั้งนี้ เป็นผู้บริหาร ผู้ติดตั้งระบบ  อาจารย์  เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จำนวน 50 คน ที่สมัครเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ จากสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จำนวน 10 มหาวิทยาลัย เทคนิคที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น  ผลการวิจัย ที่ได้สังเคราะห์แนวทางการดำเนินงานกรีนไอที แบ่งเป็น 3 ด้าน พบว่า

          1. ด้านกรอบ/นโยบาย/หลักการ/ทฤษฎี จากองค์ประกอบการดำเนินงานกรีนไอทีของ Graem Philipson นำมาประยุกต์ใช้จำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบาย (Policy) เทคโนโลยี (Technology) ทัศนคติ (Attitude) การปฏิบัติการ (Practice) และการประเมิน (Metrics)

          2.  ด้านองค์ประกอบของแนวทางดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังเคราะห์จากหน้าที่ของบุคลากรตามโครงสร้างของสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ดูแลระบบ อาจารย์ เจ้าหน้าที่  และนักศึกษา  ซึ่งบุคลากรแต่ละประเภทมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในแต่ละองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ

          3. ด้านบทบาทของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่อการดำเนินงานกรีนไอทีภายใต้องค์ประกอบทั้ง 5 พบว่า

                   3.1 ผู้บริหารควรมีบทบาทเกี่ยวกับองค์ประกอบ ทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบาย เทคโนโลยี ทัศนคติ การปฏิบัติการ และการประเมิน

                   3.2 ผู้ติดตั้งระบบควรมีบทบาทเกี่ยวกับองค์ประกอบ จำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เทคโนโลยี ทัศนคติ การปฏิบัติการ และการประเมิน

                   3.3 อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ควรมีบทบาทเกี่ยวกับองค์ประกอบ จำนวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ทัศนคติ การปฏิบัติการ และการประเมิน

                   3.4 นักศึกษา ควรมีบทบาทเกี่ยวกับองค์ประกอบ จำนวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ทัศนคติ การปฏิบัติการ และการประเมิน

                   ผลการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อแนวทางดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา  พบว่า มีความเห็นยอมรับในระดับร้อยละ 100

 

คำหลัก : กรีนไอที  สถาบันอุดมศึกษา

 

Abstract

The purpose of the research is to analyze green IT operational guidelines for higher education institutions and to investigate the opinions of university personnel towards the operational guidelines. The target population was fifty participants consisting of administrators, officers, lecturers and students from ten higher education institutions in the northeastern region of Thailand, who participated voluntarily in the seminar on “Technique for Research”. The brainstorming technique was employed for the study.  The research results were analyzed for the guidelines on three areas as follows:

1. Five components of green IT guidelines of GraemPhilipson were applied for the study. The components consisted of policy, technology, attitude, practice and metric.

2. The five components of green IT operational guidelines for higher education institutions were synthesized based on the functions and structure of higher education institutions. The data was collected from university personnel: executives, IT system administrators, users, lecturers, officers and students.

3. Roles of the university personnel are presented as follows:

    3.1  The university executives should play the roles for five key components : policy, technology, attitude, practice and metric.

              3.2 The IT system administrators should play the roles for four components: technology, attitude, practice and metric.

              3.3 The lecturers and officers should play the roles for three components: attitude, practice and metric.

             3.4 The students should play the roles for three components: attitude, practice and metric.

The study showed that the university personnel totally greed with the green IT operational guidelines.

Key word : green IT, Academic Institutions

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ธรัช อารีราษฎร์, Rajabhat Mahasarakham University

อาจารย์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ถนน นครสวรรค์ ตำบล ตลาด อำเภอเมือง

จังหวัดมหาสารคาม