การพัฒนาแอพลิเคชันเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์พกพา ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สิริธร บุญประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแอพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแอพลิเคชันเพื่อการศึกษา ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแอพลิเคชันเพื่อการศึกษา ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแอพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดอินทรวิหาร 1 ห้องเรียน จำนวน 24 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)

      เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบสัมภาษณ์ความต้องการในการใช้แอพลิเคชันเพื่อการศึกษาของครูผู้สอน 3) แบบสอบถามความต้องการในการใช้งานแอพลิเคชันเพื่อการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ 5) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 6) แบบประเมินคุณภาพแอพลิเคชันเพื่อการศึกษา 7) แอพลิเคชันเพื่อการศึกษา 8) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 9) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 10) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent) 

      ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพของแอพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 82.56/85.11 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแอพลิเคชันเพื่อการศึกษา ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานพบว่าคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแอพลิเคชันเพื่อการศึกษา ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแอพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 2.51, S.D.= 0.58) จากเกณฑ์ประเมินค่า 3 ระดับ

 

Abstact

      The purpose of this research were: 1) to develop application for education employed with problem-based learning activities in the title of ‘force and pressure’ for prathomsuksa five students to be efficient according to the standard. 2) to compare scientific problem solving ability of pre and post learning of students learning by means of application for education aligned with problem-based learning activities. 3.) to compare pre and post learning achievement of prathomsuksa five students learning by means of application for education employed with problem-based learning activities. 4) to survey the satisfaction with application for education aligned with problem-based learning activities applied for prathomsuksa five students. The participants of this study selected by the researcher included a class of 24 prathomsuksa five students of Wat Intharawihan School studying in the first semester of the education year 2014. They were selected through sample random sampling.

      The instruments of this research were 1.) structured interviews. 2.) interviews in the topic of the needs of using application for education for prathomsuksa five students. 4.) the quality evaluation form for lesson planning. 5.) 5 lesson plans. 6.) the quality evaluation form for application for education. 7.) the application for education in the topic of ‘force and pressure’. 8.) the test of scientific problem solving ability. 9.) the test of learning achievement. 10.) the satisfaction survey questionnaire. As the research statistics, mean(), standard deviation and t-test Dependent were employed to analyze the data.

       The results of this research are as follows:

      1. The results of efficiency validation of application for education used with problem-based learning activities in the title of ‘force and pressure’ for prathomsuksa five students are 82.56/85.11 according to the specified standard.

      2. the results of comparison of marks on scientific problem solving ability of prathomsuksa five students, learning through application for education employed with problem-based learning, reveal that after learning through application for education aligned with problem-based learning, their average marks on scientific problem solving ability of students are higher than their marks conducted before learning through application for education employed with problem-based learning with the statistical significance of the test statistic mean with an alpha level of .01. 

      3. the results of comparison on learning achievement of prathomsuksa five students, learning by means of application for education applied with problem-based learning activities, demonstrate that post learning achievement of students is averagely higher than pre learning achievement with the statistical significance of the test statistic mean with an alpha level of .01.

      4. the findings of satisfaction survey reveal that the satisfaction with application for education applied with problem-based learning activities employed for prathomsuksa five students is satisfactorily high (= 2.51, S.D.= 0.58) from three levels of rating scale.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

สิริธร บุญประเสริฐ

-