บรรษัทภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน: กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

Main Article Content

จิรภา คำทา
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบของบรรษัทภิบาลในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) รูปแบบของบรรษัทภิบาลในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 3) ผลการยืนยันรูปแบบของบรรษัทภิบาลในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น คณะกรรมการนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กำหนดขนาดตัวอย่างจากกลุ่มคณะกรรมการนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นเป็นหลักโดยการเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 123 คน และเลือกตัวอย่างแบบจับคู่รายกลุ่มได้ตัวอย่างกลุ่มละ 123 คน ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของบรรษัทภิบาลในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ (1) การมีส่วนร่วม (2) ความโปร่งใส (3) นิติธรรม (4) คุณธรรม จริยธรรม และ (5) ความยั่งยืน 2) รูปแบบของบรรษัทภิบาลในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นเป็นพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน 3) ผลการยืนยันรูปแบบของบรรษัทภิบาลในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์และมีความถูกต้องครอบคลุมสอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

Abstract

            The purposes of this research were to identify 1) the components of corporate governance at Thai-Nichi Institute of Technology (TNI), 2) the model for corporate governance at TNI, and 3) confirm action of the model for corporate governance at TNI. The population of this study contained three groups consisting of personnel at TNI, student committees at TNI, and stakeholders to TNI. The sample size of student committees was determined by Krejcie and Morgan table consisted 123 persons, and used the groups matching technique to obtain 123 persons for each group. The total number of these three groups contained 369 respondent. The research instruments were a checklist form, an unstructural interview, and an opinionnaire. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, and path analysis.

            The findings revealed that: 1) There were five components of corporate governance at TNI, namely 1) participation, 2) transparency, 3) rule of law, 4) morality / ethic, and 5) sustainability. 2) The model of corporate governance at TNI was multiple components which related with each others. 3) The results confirmed the model of corporate governance at TNI was appropriated, possible, advantage, and accurate based on conceptual framework and theory.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

จิรภา คำทา

Thai-Nichi Institute of Technology