การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง รอบรู้นาฏศิลป์ไทยและการจัดระบบความคิดด้วยผังลำดับเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน

Main Article Content

โสมพร วงษ์พรหม

Abstract

บทคัดย่อ                                                                                                                                                                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง รอบรู้นาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน 2) พัฒนาการจัดระบบความคิดด้วยการเขียนผังลำดับเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน  1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ดำเนินการทดลองใน    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ระยะเวลาที่ใช้ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนเรื่อง รอบรู้นาฏศิลป์ไทย 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่อง รอบรู้นาฏศิลป์ไทย ทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน และทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน 3) แบบประเมินการเขียนผังลำดับเวลา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนและการเขียนผังลำดับเวลา  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานแบบ t-test Dependent                                                                                              ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการเรียนรู้หลังจัดการเรียนรู้เรื่อง รอบรู้นาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน ( = 15.64, S.D. = 2.74)  สูงกว่าก่อนการจัด การเรียนรู้ ( =  8.44, S.D. = 2.38) 2. พัฒนาการจัดระบบความคิดด้วยการเขียนผังลำดับเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก ( = 3.77, S.D. = .47) 3.ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนและการเขียนผังลำดับเวลาพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับเห็นด้วยมาก ( =  2.92, S.D. = 0.30)  โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ                                                   

Abstract                                                                                                                                                                               The purposes of this experimental research were  1) to develop the learning outcome on Thai dance of the Grade 10 students of Assumption College Thonburi before and after being taught by the inquiry-based learning approach  2) to develop the thinking organization abilities of the tenth grade students through time line mapping, and 3) to study the students’ opinions toward the inquiry-based learning approach.                                                                                                                                                                              The researcher selected fifty Grade 10 students of Assumption College Thonburi in the first semester of the academic year 2013 as respondents on this study through random sampling. The research was conducted for eight weeks, one period per week. The research instruments employed to collect data included lesson plans, learning outcome test, timeline mapping abilities evaluation form, and the questionnaires.  Statistical analysis was accomplished by percentage, mean, standard deviation, dependent T-test, and content analysis.

     The results of this research revealed that:

     1.   The learning outcomes on Thai Dance of 10th grade students before being taught by the inquiry-based learning approach were statistically significant at the level of .01 whereas, the learning outcome after the implementation of the approach was found higher than before the implementation.

     2.   The thinking organization by time line mapping abilities of Grade 10 students after being taught by inquiry based learning approach were at a high agreement.

     3.   The selected Grade 10 students revealed positive opinions and a high level of agreement on the topic of time line mapping of the inquiry based-approach. Furthermore, the usefulness of the experiences benefited from the lesson, learning activities, and learning atmosphere were revealed at a high level of agreement.

Keywords : 1) The learning outcomes 2) The thinking organization 3) Time line mapping

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ