ผลของกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา

Main Article Content

วชิรวิทย์ มาลาทอง
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 56 คน มีจำนวน 2 ห้องเรียน ที่มีคะแนนจากแบบวัดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยใช้รูปแบบการทดลองที่มีนักเรียนในกลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน ตัวแปรตามคือ การเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและอาชีพ ทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบสถิติ Paired-Sample t-test, Independent-Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพมีผลต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา และ 2) ภายหลังการจัดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพ พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพสูงกว่าเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05

Abstract

The purpose of this research were: 1) to study the effect of guidance activities according to the career selection theory for developing self-understanding and career selection and 2) to compare between the experimental group students who participated in the guidance activities according to the career selection theory for developing self-understanding and career selection with control group students for mathayomsuksa five students at Prataungtipvittaya School, second semester, school year 2013. This research was the quasi experimental design. The populations were two classes of mathayomsuksa five that were not different. Simple Random Sampling was utilized. One class was selected as the experimental group and the others was a control group. The experimental group participated in the program for 6 sessions, 60-90 minutes per each session per week. The instruments used in this research were the effect of guidance activities according to the career selection theory for developing self-understanding and career selection and the effect of guidance activities according to the career selection theory for developing self-understanding and career selection. Mean, Standard Deviation, Paired-Sample-test and Independent-Sample t-test were used for data analysis. The research results indicated that: 1) the guidance activities according to the career selection theory for developing self-understanding and career selection effect to students and 2) After participating in activities, the post test, the experimental group score were significantly higher than before participating in the activities.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

วชิรวิทย์ มาลาทอง

นิสิตปริญญาโท  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษ๖ณศาสตร์