การบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน

Main Article Content

กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา
นพดล เจนอักษร

Abstract

บทคัดย่อ

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบของการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน   2) รูปแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน 3) ผลการยืนยันองค์ประกอบและรูปแบบของการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน จากเอกสาร วรรณกรรม ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน10 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบและรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือบุคคลากรในสังกัดของ 5 หน่วยงานหลักตามโครงสร้างการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานละ 50 คน รวม 250 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ขั้นที่ 3 การยืนยันองค์ประกอบและรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชนจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน ใช้การวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

                      ผลการวิจัยพบว่า

                      1. องค์ประกอบของการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ธรรมาภิบาล 2) การจัดทำข้อตกลงและการบริหารสัญญา 3) การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา 4) มาตรการส่งเสริม และ 5) นโยบายภาครัฐ

                      2. รูปแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชน พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ เป็นตัวแปรต้น 4 องค์ประกอบคือ ธรรมาภิบาล การจัดทำข้อตกลงและการบริหารสัญญา มาตรการส่งเสริม และนโยบายภาครัฐ ส่วนตัวแปรตามคือการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา โดยที่โดยธรรมาภิบาล การจัดทำข้อตกลงและการบริหารสัญญา มาตรการส่งเสริม และนโยบายภาครัฐ ล้วนมีอิทธิพลทางตรงต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา  นอกจากนี้ธรรมาภิบาลยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการสร้างนวัตกรรมผ่านการจัดทำข้อตกลงและการบริหารสัญญา และนโยบายภาครัฐ และนโยบายภาครัฐมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การสร้างนวัตกรรมผ่านการจัดทำข้อตกลงและการบริหารสัญญา และมาตรการส่งเสริม และพบว่ารูปแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี

                      3.  ผลการยืนยันองค์ประกอบและรูปแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชนจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ พบว่าองค์ประกอบและรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบรัฐร่วมเอกชนมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องครอบคลุม

 

Abstract

                      The purposes of this research were to determine the following aspects; 1) the factors of public-private partnerships in educational administration 2) the correlation model of public-private partnerships in educational administration’s factors 3) the authentic verification for factors and correlation model of  public-private partnerships in educational administration’s factors.  The research design and methodology have been carried out in 3 stages. The first stage was to explore the possible factors of public-private partnerships in educational administration from relevant literatures, concepts, theories and related research findings including interview from 10 experts/expertise, and then to get them summarized under content analysis methods for the valid variables.  The second stage was to make analysis of factors and correlation model for public-private partnerships in educational administration’s factors through the quantitative research instruments as opinionairs.  The quantitative data has been collected from the respondents of all five main organizations in the Ministry of Education which have systematically been retrieved into 250 respondents.  The statistics for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and path analysis.  The third stage was to acquire the verification for factors and correlation model of public-private partnerships in educational administration’s factors from 8 experts/expertise.   The statistics for data analysis were frequency, percentage and content analysis. 

                      The research findings revealed as follows :-

                      1. There were five factors of public-private partnerships in educational administration which were governance, agreement and contract management, educational innovation, incentive measures, and public policy.

                      2. The correlation model consisted of five factors for public-private partnerships in educational administration.  There were 4 independent variables which were governance, agreement and contract management, incentive measures, and public policy while the dependent variable was educational innovation.  It also found that governance, agreement and contract management, incentive measures and public policy have direct effect to educational innovation.  In addition, governance also has indirect effect to educational innovation through agreement and contract management, and public policy.  Apparently, the model illustrated goodness of fit with empirical evidence.   

                      3. The verification of research finding was affirmed by 8 experts/expertise that factors and model of public-private partnerships in educational administration’s factors were appropriate with the standard of propriety, feasibility, utility and accuracy.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา

นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร