การนำเสนอกระบวนการประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข่าวสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Main Article Content

กนกวรรณ ใจรื่น

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานและความต้องการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ จำนวน 250 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สัมภาษณ์สภาพการดำเนินงานและความต้องการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ จำนวน 14 คน และ3) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ประเมินความเหมาะสมของกระบวนการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 5 คน

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง              3) กระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 4) แบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

               ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีความเหมาะสมทั้งในด้านขององค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ 1)นโยบายของมหาวิทยาลัย  2) ผู้บริหาร 3)บุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ 4)วิธีการดำเนินงาน 5) งบประมาณ และ 6) สื่อประชาสัมพันธ์ และกระบวนการประชาสัมพันธ์ประกอบ ด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1) ศึกษาปัญหาและสภาพการดำเนินการประชาสัมพันธ์ ขั้นที่ 2) การพัฒนาบุคลากรของงานประชาสัมพันธ์ โดยการอบรม และการศึกษาดูงาน ขั้นที่ 3) วิเคราะห์ผลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัญหาด้วยการวิจัย และขั้นตอนการพัฒนาบุคลากร เพื่อจัดทำแผนงานและเขียนโครงการเพื่อการพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ขั้นที่ 4) การจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ และขั้นที่ 5) การประเมินผลการดำเนินการงานด้านการประชาสัมพันธ์

Abstract

               This research aimed to propose a process for Public Relations (PR) and information services(IS) for Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus (KU.KPS). The population and sample in this were as follows:

               The sample used for the study of views and needs on PR by KU.KPS consisted of 250 faculty members, supporting staff, 1st -4th –year students, students’ parents as well as recipients of the PR and IS by KU.KPS.  2.2) the sample used for the interviews on the operations and needs on PR were 14 interviewees. 2.3) the sample used for the evaluation of the appropriateness / suitability of the PR process by KU.KPS were 5 interviewees. The instruments used for data collection were composed of 1) a questionnaire, 2) structured interview forms, 3) a process proposal for PR and IS for KU.KPS., and 4) an evaluation form of the appropriateness / suitability of the PR. The statistical techniques were frequency, arithmetic mean (  ) and standard deviation (S.D.)

               The results were found as follows: the proposed process for the PR for KU.KPS. was appropriate / suitable in terms of 6 factors : 1) the university policies, 2) the university administrators, 3) the PR staff, 4) the PR operations, 5) the PR budgeting, and 6) the PR media. The proposed process for the PR was composed of 5 steps : step 1) to study the problems and the operations of the PR, step 2) to develop the PR staff through trainings and study trips, step 3) to analyze the results from the research of the problems and the operations of the PR and from the development of the PR staff to formulate a plan and a project for the PR network development, step 4) to organize a PR workshop for the PR network development, step and 5) to evaluate the PR operations.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ