ผลของการเรียนแบบเทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม(สินทรัพย์อนุสรณ์) สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เกษร ยอดเทพ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการเรียนแบบเทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือกับการเรียนแบบปกติและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการเรียนแบบเทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ ซึ่งดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Nonrandomized control-group pretest-posttest design  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม(สินทรัพย์อนุสรณ์) สังกัดกรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน สอนโดยใช้การเรียนแบบเทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน สอนโดยใช้การเรียนแบบปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การเรียนแบบเทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละ จำนวน 10 แผน  แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t - test for independent samples และ t - test for dependent samples  ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการเรียนแบบเทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการเรียนแบบเทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

คำสำคัญ : เทคนิคกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Abstract

               The purposes of this research to compare mathematics problems solving abilities of students who studied by using the Team Assisted Individualization and the normally learning and to compare mathematics problems solving abilities of students pretest and posttest who studied by using the Team Assisted Individualization. The experiment was conducted by Nonrandomized control – group pretest posttest design. The sample in the study consisted of Prathomsuksa V students. Watweluwanaram School In Bangkok. One class was assigned as the experimental group learned by using the Team Assisted Individualization. Another class was control group by the normally learning. The experiment was conducted in the second semester of the 2012 academic year. The instruments used in this study included lesson plan to using the Team Assisted Individualization learning in mathematics course ,the  percentage problems and the lesson plan to using the normally learning, the mathematics problem-solving abilities test. The data collected were analyzed by t-test independent samples and t-test dependent samples for with in group comparison. The result of this experiment were as follows : Students using the Team Assisted Individualization learning had the mathematics problem solving abilities than students in the control group using the normal learning statistical  significant at .01. The mathematics problems solving abilities after the experiment of students in the Team Assisted Individualization than in the experiment  statistical  significant at .01.

 

Keywords : Team Assisted Individualization, Mathematics problems solving ability

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ