การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ชาญชัย หมันประสงค์
อธิกมาส มากจุ้ย

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3    ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์  2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย  ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  จำนวน 53 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลังเรียน    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์  เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ()ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที(t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(Dependent)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

               2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (= 4.45)

คำสำคัญ: การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

Abstract

               The objectives of this reserch were 1) to compare learning achievement with the critical reading competency of Mathayomsuksa 3 students before and after implementation of scientific learning approach. 2) to study the opinion of Mathayomsuksa 3 students in critical reading competency through scientific learning approach. The sample consisted of 53 students from Mathayomsuksa3/6, Sarasit Phittayalai School, second semester, academic year 2013, and using simple random sampling technique with a classroom unit. This research was pre - experimental with one group pre-test, post-test design. The research instruments used were: 1) critical reading competency lesson plans; of scientific learning approach 2) a test to measure learning achievement; 3) a satisfaction survey form toward scientific learning approach. The percentage (%), mean (), standard deviation of items (S.D.), dependent t-test  were analysed in this research

               The research findings were as follows:

               1.  The average scores of learning achievement with the critical reading competency through scientific learning approacchof Mathayomsuksa 3 students in the post-test were significantly higher than pre-test scores at .05

               2. In overall, the Mathayomsuksa 3 students’ satisfaction toward the scientific learning approach was  at  strongly agree level. (= 4.45)

Keywords:    the  critical  reading  competency, scientific learning  approach

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ