การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus

Main Article Content

บรรจง แสงนภาวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง (One  Group  Pretest  Posttest  Design)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยประยุกต์เทคนิคการสอน KWL  Plus 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนวัดดอนยายหอม (หลวงพ่อเงินอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1  ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2556  จำนวน 27 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL  Plus แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย   ค่าร้อยละ (%)  ค่าเฉลี่ย  ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependentและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า

               1.   ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้  โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน        KWL Plus  สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้  โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus  อย่างมีนัยสำคัญ .05

               2.  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

               This research was experimental research with one group pretest-posttest design. The purposes were to: 1) compare analytical reading skills of the sixth grade students before and after learning by applying KWL Plus technique and   2) study the students’ opinions toward the learning by applying KWL Plus technique. The sample consisted of 27 sixth grade students, first semester in academic year 2013, Watdonyaihom (Loungpongeanooppathum) School, Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office II. The research instruments were the lesson plans by applying KWL Plus technique, analytical reading skills test and questionnaire on opinions toward the learning by applying KWL Plus technique. The statistical analysis employed were percentage (%), mean (), standard deviation (S.D.), t-test Dependent and content analysis.

               The research found that:

               1)  The analytical reading skills of the sixth grade students after learning by applying KWL Plus technique were higher than before learning by applying KWL Plus technique statistically significant different at the .05 level.

               2) The students’ opinions toward the learning by applying KWL Plus technique were overall at a high agreement level. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ