ปัจจัยการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียนในมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 8-10

Main Article Content

ปราณี ตันติตระกูล

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบปัจจัยการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยม  และ 2) เพื่อทราบแนวทางการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8-10   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8-10  จำนวนรวมทั้งสิ้น  173 โรง  ผู้วิจัยได้ทำการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 123 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน  รองผู้อำนวยการผู้ทำหน้าที่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และบุคลากรแนะแนว รวมโรงเรียนละ 4 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 428  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับ การควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

               ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียนทั้ง 5 บริการในภาพรวมและแต่ละงานบริการอยู่ในระดับมาก  โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อย  ดังนี้  คืองานบริการให้คำปรึกษา   งานบริการจัดวางตัวบุคคล และงานบริการติดตามผล งานบริการสารสนเทศ และงานบริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามลำดับและ 2)  การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน  องค์ประกอบเชิงยืนยันของการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียน พบว่า โมเดลปัจจัยของการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียนทั้ง 5 บริการ  ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Abstract

               The purposes of this research were to 1) study the supported factor for guidance service control and 2) provide the guidelines to control the guidance services in secondary schools under secondary educational service area office 8-10. The population of this research was 173 secondary schools of secondary educational service area office 8-10.  The sampling units were 123 secondary schools. The data were collected from 4 respondents per school including school principal, vice principal and guidance counselors. There were 428 complete response observations.  The research instruments were the questionnaires to survey about guidance services control. The statistical analyses were descriptive statistics, percentage, mean, standard deviation and confirmatory factor analysis for guidance service control.

               The results of this research were found that 1) the controlling of overall guidance services and each of 5 guidance services were high. The descending high levels of guidance services control were counseling service, placement services, follow-up service, information service and individual inventory service, respectively and 2) the results of CFA were showed that all of 5 theoretical models of controlling in guidance services were statistical fitted with empirical data. 


Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ