การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนสะกดคำที่มีสระประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญา แผนผังความคิดและแบบฝึกเสริมทักษะ

Main Article Content

ไพรินทร์ พึ่งพงษ์
บุษบา บัวสมบูรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ   1)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีสระประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญา  แผนผังความคิด  และแบบฝึกเสริมทักษะ   2)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ที่มีต่อการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีสระประสมโดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญา  แผนผังความคิด  และแบบฝึกเสริมทักษะ  กลุ่มตัวอย่าง คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ห้องลีลาวดี  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา)  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556  จำนวน 1  ห้องเรียน  33  คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  ใช้ระยะเวลาในการทดลอง  16 คาบ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1)  แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีสระประสม  2)  แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนแผนผังความคิดสระประสม  3)  แบบฝึกอ่านสะกดคำที่มีสระประสม  4)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีสระประสม  5)  แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญา  แผนผังความคิดและแบบฝึกเสริมทักษะ   แบบแผนที่ใช้ในการทดลองเป็นแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และการทดสอบค่าที (t-test)  แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1)  ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีสระประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญา  แผนผังความคิด  และแบบฝึกเสริมทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ   0.01

               2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ที่เรียนโดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญา  แผนผังความคิดและแบบฝึกเสริมทักษะ  มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Abstract

               The purposes of this research were to  1) To  Compare the pre-test and post-test of first grade students in  reading and spelling  diphthong  words  achievement through multiple intelligence theory,  mind mapping  and  skill  exercises.  2)  To study  the opinions of students about reading and spelling diphthong words through  multiple  intelligence theory,  mind  mapping  and  skill  exercises.  The sample of this research consisted of 35 students from the first grade at The Demonstration school of Silpakorn University (Early Childhood & Elementary), AmphoeMueang,  Nakornpathom Province in the academic  year 2013.  The school representatives gained by Simple Random Sampling. The duration of the experiment was 16 hours.

               The  instruments  used  for  this  study  included:  1) Lesson plans for reading  and  spelling  diphthong  word.  2) Exercises for writing diphthong wordsmind mapping. 3) Exercises to enhance reading and spelling diphthong words skill.  4)  Reading and spelling diphthong words academic test 5) Interview forms of students’ opinions toward learning management through multiple intelligence theory.  The research  design  was  the  one grouppretest - posttest  design.  The data were analyzed by mean (), standard  deviation (S.D.) and  the pre-test and post-testt-test dependent.

               The results of the research found that :

               1.  The pre-test and  post-test  achievements of the  first  grade students  in  reading  and  spelling  diphthong  words  achievement  through  strategy  multiple intelligence theory, mind  mapping  and  skill  exercises   after  teaching  by  synectics  approach  were  significantly higher  than  during  at  the  0.01  level.

               2.  The opinions of students  about reading  and  spelling diphthong words through strategy  multiple  intelligence theory,  mind  mapping  and  supplementary  practice  meterial  were  strongly  agree.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ