การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

มาณี ปรักมานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช   2551  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ในด้านค่าความเที่ยงตรง อำนาจจำแนก  ค่าความยากง่าย  และค่าความเชื่อมั่น    จากนั้นนำมาสร้างเกณฑ์ปกติ  การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา มี 4 ขั้น คือ   ขั้นที่  1 การวิจัย (Research : R1)  เป็นการวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลพื้นฐาน   ขั้นที่  2  การพัฒนา (Development :  D1)  เป็นการออกแบบและพัฒนาแบบทดสอบ     ขั้นที่  3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการทดลองใช้แบบทดสอบ ขั้นที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบ   กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในจังหวัดกาญจนบุรี  ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2555 จำนวน 2 โรงเรียน  1,000 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก  100 ข้อ แบ่งเป็น  2  ฉบับ ฉบับละ 50 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความเที่ยงตรง   อำนาจจำแนก  ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น

               ผลการวิจัยพบว่า 

                    1.    การพัฒนาแบบทดสอบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ได้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1   จำนวน  100 ข้อ  2 ฉบับ  ฉบับละ  50  ข้อ  เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก ครอบคลุมสาระหลัก  5 สาระ 5 มาตรฐาน และ  35  ตัวชี้วัด และคุณภาพแบบทดสอบด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  โดยใช้วิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  (Index  of  Item  Objective  Congruence: IOC )   พบว่าข้อสอบมีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจำนวน 100  ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง  0.67 - 1.00

               2.  คุณภาพแบบทดสอบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ฉบับที่ 1  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.68  และ ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.24 – 0.78   และฉบับที่ 2  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.61    และค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.62  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับคำนวณจากสูตร  KR-20   ฉบับที่ 1  มีค่าเท่ากับ 0.76  ฉบับที่ 2  มีค่าเท่ากับ 0.91    และเกณฑ์ปกติ ฉบับที่ 1  มีคะแนนดิบ ตั้งแต่ 5 - 40  T – ปกติ ตั้งแต่  26.84 -80.24   ฉบับที่ 2  มีคะแนนดิบ ตั้งแต่ 4 - 37  T – ปกติ ตั้งแต่ 25.86 - 84.01

Abstract

               The   purposes   of   this   research   were  to  1)    Develop  Thai  Language  achievement  test  for  Matthayomsuksa  1  accordance  to  the  Basic Education  Core  Curriculum   2008    2) Verify  the quality   of  achievement  test  in  content  validity   discrimination   index,   difficulty   index and   reliability   and  take  those  to  normalize of  achievement  test. : R&D. There were 4 steps as follows: 1) Research (R1) to study the basic data and need of achievement test construction, 2) Development (D1) to construct the achievement test, 3) Research (R2) to tryout the achievement test, and 4) Development (D2) to assess and revise the achievement test. The  sample  consists  of   1,000 Matthayomsuksa 1   students  from two  schools  in  the  Secondary  Educational  Service  Area  Office  8  in  the   second  semester ,  academic  year  2012 .  The research  instruments  used  were  2  papers of   four – choice  test , 50  items  each

               The results of the  study  were :  

               1)  The  study   obtained   four – choice  achievement  test, 100  items  separated  into  2 papers, 50  items  each , in   Thai  Language  for  Matthayomsuksa  1   which  covered  5  learning  standards  and  35   indicators.   The validity  content  mean  of  all  100  items  achievement  test  using  Index  of   Item  Objective  Congruence  (IOC)  ranged  0.67 – 1.00  

               2)  The  qualities  of the  2  paper  tests  revealed  the   following :   the  first  paper  test, 50  items ;  The  discriminating    mean  ranged   0.20 – 0.68  and the   difficulty  mean  ranged    0.24 – 0.78 , the  second   paper  test  50  items ;  The  discriminating    mean  ranged   0.21 – 0.61   and the  difficulty  mean  ranged  0.21 – 0.62  .  The  reliabilities  of  all 2 papers , 100  items  calculated  with  KR – 20  Formula ,  the  first  paper was equal to  0.76 .  The second   paper    was  equal to  0.91. For the  normalize  paper :  T-score for the first paper test was between 5 – 40 and T – normal  was between  26.84 – 80.24 ,T-score for The  second   paper was between 4– 37  and T – normal  was between  25.86 – 84.01

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ