การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยวิธีการเรียนแบบผสมผสาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการสร้างงานนำเสนอ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดุสิตวิทยา

Main Article Content

ยุรนันท์ พลายละหาร

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการสร้างงานนำเสนอ แบบผสมผสาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดุสิตวิทยา  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนแบบปกติกับการเรียนแบบผสมผสาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องการสร้างงานนำเสนอ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดุสิตวิทยา  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดุสิตวิทยา ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการสร้างงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดุสิตวิทยา   อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากการเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายมา 2 ห้องเรียน โดยพิจารณาจากผลการเรียนใกล้เคียงกัน ห้องละ 44 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องการสร้างงานนำเสนอ 2) แผนจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่องการสร้างงานนำเสนอ 3) บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างงานนำเสนอ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างงานนำเสนอ ก่อนเรียนและหลังเรียนแบบปรนัย 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบปกติและแบบผสมผสาน เรื่องการสร้างงานนำเสนอ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent)

               ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ เรื่องการสร้างงานนำเสนอของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสาน ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันโดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.38 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.57 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานและแบบปกติแตกต่างกัน โดยนักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบผสมผสาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.57 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามความพึงพอใจการเรียนการสอนแบบผสมผสาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องการสร้างงานนำเสนอ พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ถือว่าอยู่ในระดับ  มาก

Abstract

               The purpose of this study were: 1) to compare the achievement of students’ pretest and posttest of students grade 6 of Dusitwittaya school by learning the blended learning lesson in presentation topic, 2) to compare achievement between traditional learning and blended of students grade 6 of Dusitwittaya school by learning the blended learning lesson in presentation topic, and 3) to study the satisfaction of the students grade 6 Dusitwittaya school towards blended learning lesson in presentation topic. The sample in this study were grade 6 students at Dusitwittaya school  Ban Pong, Ratchaburi using simple random selection of the two classes on the basis of academic performance of 44 students. The instruments of research were: 1) lesson plan using traditional lesson in presentation topic, 2) lesson plan using blended learning lesson in presentation topic, 3) multimedia courseware lesson in presentation, 4) a multiple-choice pretest and posttest, and 5) satisfaction survey of students towards learning traditional and learning blended lesson in presentation topic. The data were statistically analyzed using the mean, standard deviation, and the t-test independent.

               The results of the research were as follows: 1) the comparison of achievement lesson in presentation of the students blended learning  before and after varies with the average pretest and posttest was 13.38 with an average of 19.57 which is higher than previous studies statistically significant at the 0.05 level, 2) achievement of students with learning differences, combination and normal student learning groups combined an average of 19.57, which is higher than the normal group learning with an average of 17.84 with achievement than in regular classes statistically significant at the 0.05 level, and 3) data analysis satisfaction teaching blended lesson in presentation showed a mean of 4.46 and standard deviation equal to 0.65 is considered good.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ