ผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลที่เนื่องจากคำพิพากษา : กรณีการพิจารณาต่ออายุราชการของข้าราชการสายวิชาการ

Main Article Content

ระพีพรรณ ฉลองสุข

Abstract

บทคัดย่อ

               บุคคลสายวิชาการ จัดเป็นปัจจัยหลักของการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้นการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ เพราะการให้ได้มาซึ่งบุคคลากรที่มีคุณภาพต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาที่ใช้ระยะเวลาและการลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นแนวความคิดที่จะให้บุคลากรกลุ่มนี้ได้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเต็มความสามารถ ประกอบกับการขาดแคลนข้าราชการสายวิชาการในช่วงการขยายตัวของสถาบันอุดมศึกษา จึงทำให้มีการประกาศใช้มาตรา 19 พระราชบัญญัติ (พรบ.) ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547

               แต่ความไม่ชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของ พรบ. ดังกล่าวก่อให้เกิดคดีพิพาททางการปกครองประเภทใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นคำพิพากษาของศาลปกครอง ย่อมส่งผลกระทบต่อคู่กรณี โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา เพราะฉะนั้นการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลที่เนื่องจากคำพิพากษา : กรณีการพิจารณาต่ออายุราชการของข้าราชการสายวิชาการ จึงจะช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาได้ทำการวางแผนรองรับหากต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษา รวมทั้งเป็นข้อเท็จจริงทางการบริหารงานที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรต้องรับทราบเพื่อจักได้ หาแนวทางในการปรับปรุง พัฒนางานของตน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามเจตนารมณ์พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

               ผลของการวิเคราะห์ พบว่ากระบวนการพิจารณาข้อพิพาททางการปกครองในกรณีมีระยะเวลาที่เนิ่นนาน การบังคับคดีอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ หรือการเยียวยาความเสียหายที่เป็นเงินนั้นอาจจะไม่สามารถสะท้อนถึงความยุติธรรมที่แท้จริงที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพึงได้รับ ดังนั้นในสังคมที่มีความหลากหลายของสมาชิก มีการสื่อสารที่รวดเร็วแต่ขาดความเข้าใจที่แท้จริงในแต่ละศาสตร์  และการเป็นสังคมแนวราบ จึงต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการตรากฎหมายต่าง ๆ มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา กล่าวคือ การพิจารณาออกออกกฎหมายแต่ละฉบับต้องเข้าใจโครงสร้างทางสังคม เพื่อทราบว่ากฎหมายนั้นจะกระทบสังคมในจุดใดบ้าง แทนการออกกฎหมายมาปะผุสังคมเป็นจุด ๆ ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาปัจจุบันได้อย่างสิ้นเชิงแล้วยังทำให้เกิดรอยรั่วใหม่ หรือรอยปริร้าวใหม่ในสังคมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การรณรงค์ให้ประชาชนได้รับทราบหลักการ/แนวคิดทางด้านกฎหมายจะทำให้สมาชิกในสังคมเคารพสิทธิของผู้อื่น และรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง มากกว่าการทราบเพียงบทบัญญัติของกฎหมายแต่ละฉบับซึ่งทำให้แต่ละคนพยายามหาทางเลี่ยงบทบัญญัติที่เป็นข้อห้ามและเรียกร้องผลประโยชน์ตามบทบัญญัติเหล่านั้น

คำสำคัญ: สถาบันอุดมศึกษา, บุคคลสายวิชาการ, กฎหมายการบริหารงานบุคคล

 

Abstract

               Academic staffs are the main factor for educational administration. Because of taking a long time and a lot of resource to develop a quality academic staff, human resources development for this group is the important issue. In situation of the growth of the higher education, there is a lack of academic staffs. So article 19 of the civil servant regulations in the institution of higher education was promulgated. 

               Because there is not clear process how to conduct with this law, there were many new administrative arguments. The Administrative Court judgments should effect man power administration of higher education. The evaluation of human resources administration of higher education effect toward The Administrative Court judgments in case of renew contact of academic staffs may be the useful data for judgment execution and for developing guideline according to Good Governance Act (B.E. 2546).

               The reviewed data revealed that the procedure considers the dispute which had taken long time may be a problem in compulsory execution or unfair financial compensation. In dynamic society, the legislation process should be more concerned than in the past period. To prevent conflict in society, the law has not be enacted for correcting some point, the impact to related section of social structure should be considered in the legislated law process. In addition, acknowledgement of the true law concept may be reduced the misconduct of the law.

Keywords: higher education, Academic staffs, human resources law

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ