พฤติกรรมและทัศนคติของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียน

Main Article Content

ระพีพรรณ ฉลองสุข
นฤภร สำราญรัตน์
พัทธมน กอกอบลาภ
พิรญาณ์ ใจชื้น
วิภาวี พุกจินดา

Abstract

บทคัดย่อ

               การสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรชั้นปีที่ 1 – 5  มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 275 คน ในช่วงเดือนธันวาคม 2556 ถึงมกราคม 2557 ด้วยแบบสอบถาม การประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ one way ANOVA

               ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาเภสัชศาสตร์มีประสบการณ์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เฉลี่ย 6.50 ± 3.0 ปี โดยแต่ละชั้นปีมีระยะเวลาของประสบการณ์ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.001) นักศึกษาร้อยละ 92.4 ระบุว่าใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเรียน แต่จำนวนที่ใช้ในลำดับมากมีเพียงร้อยละ 21.5 นักศึกษาร้อยละ 54.9 เห็นว่าสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ค้นคว้าเนื้อหาการเรียน ได้ดีเหมือนเข้าฟังการบรรยายของอาจารย์ในชั้นเรียน ร้อยละ 77.1 เห็นว่าการเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้นักศึกษามีความสนใจในการเรียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 41.8) เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำให้นักศึกษาไม่มีเวลาในการอ่านทบทวนบทเรียน และ การใช้สื่อสังคมออนไลน์จึงทำให้เสียเวลามากจนไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมอื่น (ร้อยละ 61.1) ดังนั้นคณะเภสัชศาสตร์จึงควรที่จะพิจารณานโยบายในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนการเรียนให้ชัดเจน เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้น่าสนใจ สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของนักศึกษา

 คำสำคัญ: สื่อสังคมออนไลน์, เภสัชศาสตร์, การศึกษา 

 

Abstract

               During December 2013 to January 2014, usage behavior and attitude toward social media using for education were surveyed by questionnaire among 275 1st – 5th year level pharmacy students, Silpakorn University. The data were analyzed by software computer for descriptive statistic (percentage, mean standard deviation) and one-way ANOVA.

               The findings of the study indicated that pharmacy students had experience in social media usage (average 6.50 ± 3.0 years). Their time of experience usage wear statistically difference (p= 0.001). Most of them (92.4%) had used social media for education activity but only 21.5% had frequency usage at several time level. Pharmacy students had good attitude toward using social media for education: 54.9% of them though that learning from social medias were good as learning in class room and teaching by social medias were more interested (77.1%). In addition to their opinion, social media usage had disadvantage such as less time for reviewing the content of. learning (41.8%) and lack of participation in other activities (61.1%). So Faculty of Pharmacy should consider the policy of social media usage for education which may be improved the interesting learning process according to the student’s  need and learning behavior.

Keywords: Social Media, Pharmaceutical Sciences, Education

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ