การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการบอกกระบวนการความคิดและผังกราฟฟิก เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

วันวิสาข์ มาสูตร์
วิสาข์ จัติวัตร์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการบอกกระบวนการความคิดและผังกราฟฟิก สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และนำมาเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านของนักศึกษาก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ตลอดจนศึกษาการใช้กลวิธีระหว่างการอ่านของนักศึกษาที่มีความสามารถในการอ่านสูงและต่ำ และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 081103 English Skill Development ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 38 คน โดยใช้เวลาในการเรียน 9 สัปดาห์ ๆ ละ 1 วัน วันละ 2 คาบเรียน รวมทั้งสิ้น18 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการบอกกระบวนการความคิดและผังกราฟฟิกพร้อมแผนการสอน จำนวน 7 บท  แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านก่อนและหลังการทดลอง ตารางบันทึกการใช้กลวิธีระหว่างการอ่านและแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้   t-test เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ  และใช้ค่าร้อยละเพื่อศึกษาการใช้กลวิธีระหว่างการอ่านของนักศึกษาที่มีความสามารถในการอ่านสูงและต่ำ และใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าระดับมาตรฐานในการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษผลการวิจัย พบว่า      1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการบอกกระบวนการความคิดและผังกราฟฟิก เท่ากับ 78.65/80.92 ถือว่ามีประสิทธิภาพดี  2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักศึกษาที่มีความสามารถในการอ่านสูงใช้กลวิธีระหว่างการอ่านมากกว่านักศึกษาที่มีความสามารถในการอ่านต่ำโดยคิดเป็นร้อยละ 53.75และ 28.08 ตามลำดับ 4) นักศึกษามีความคิดเห็นที่    ดีมากต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการบอกกระบวนการความคิดและผังกราฟฟิกทั้ง 7 บทที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

คำสำคัญ : แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ/เทคนิคการบอกกระบวนการความคิด/ผังกราฟฟิก

Abstract

               The purposes of the study were 1) to develop and test the efficiency of English reading exercises using think-aloud and graphic organizers technique for the first year students; 2) to compare the students’ English reading ability before and after studying the exercises; 3) to study while-reading strategies usage between high and low English reading proficient students; 4) to survey the students’ opinions toward the exercises. The research sample, selected by a purposive sampling technique, comprises 38 first-year students majoring in Social Studies, faculty of Education, Silpakorn University, during the second academic years 2012. The duration of the experimental research covered 18 class sessions over a nine-week period. The research instruments consisted of ; 1) seven units of English reading exercises and lesson plans; 2) an English proficiency test of reading ; 3) a checklist of while-reading strategies; 4) a questionnaire was used for surveying the subjects’ opinions toward the exercises. The paired-samples t-test was used to analyze the gathered data in order to assess the students’ ability in English reading comprehension before and after studying English reading exercises. The percentage was used to study the while-reading strategies usage between high and low English reading proficient students. Furthermore, the mean and the standard deviation of items were used to evaluate the students’ opinions toward the exercises. The results of the study revealed as follows:

               1) The efficiency of reading exercises was 78.65/80.92 percent for the reading practice tests and the posttest, respectively. This means that the constructed reading exercises exceeded the expected criterion (75/75) 2) The students’ reading ability after studying the English reading exercise was significantly higher than before studying the English reading exercises at the 0.05 level 3) The students who have high English reading proficiency use more reading strategies than those who have low English reading proficiency 4) The students’ opinions on the seven units toward the English reading exercises were highly positive.

Keyword(s) :  Reading comprehension/ think-aloud technique/graphic organizer

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ