เครือข่ายทางสังคมของกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ซูซูกิสวิฟท์

Main Article Content

ศุภลักษณ์ ตันเกษมขจรศรี
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายทางสังคม การจัดการเครือข่ายทางสังคม การตัดสินใจในการเข้าสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายทางสังคม และการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของเครือข่ายทางสังคมของกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ซูซูกิสวิฟท์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีปรากฏการณ์วิทยา โดยศึกษาปรากฏการณ์และประสบการณ์ของกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ซูซูกิสวิฟท์เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีหลักการ จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ซูซูกิสวิฟท์จำนวน 6 รายได้แก่ คณะกรรมการคลับ ทีมงาน และสมาชิกทั่วไป

               ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์พบว่า 1) การสร้างเครือข่ายทางสังคมนี้มีรูปแบบความสัมพันธ์เหมือนกลุ่มเพื่อนหรือคนในครอบครัว โดยทำความรู้จักกันผ่านโลกออนไลน์เป็นสื่อกลางใช้ในการเชื่อมต่อของข้อมูลและเป็นช่องทางในการสื่อสารกันทั้งภายในและภายนอก เปิดกว้างให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นพื้นที่ให้พบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องรถยนต์ยี่ห้อซูซูกิสวิฟท์ 2) การจัดการเครือข่ายทางสังคม เป็นการจัดการที่ไม่เป็นทางการโดยมีประธาน คณะกรรมการ และทีมงานเป็นตัวกลางในการประสานงานดำเนินกิจกรรมระหว่างคลับฯ และสมาชิก ด้วยการขอความร่วมมือจากสมาชิกตามกฎระเบียบที่ทุกคนยอมรับได้เป็นส่วนใหญ่ 3) การตัดสินใจในการเข้าสู่การเป็นสมาชิก เป็นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างคือการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ระบุกระบวนการและวิธีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าบางส่วน อีกส่วนยังต้องใช้ประสบการณ์ และวิจารณญาณของผู้ตัดสินใจเอง 4) การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของเครือข่ายทางสังคม ได้สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในทุก ๆ ปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสมาชิกทุกคนให้การสนับสนุนกับกิจกรรมนี้อย่างเกินความคาดหมาย

               ผลการศึกษา ข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเครือข่ายทางสังคมรวมถึงการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในอนาคตต่อไป

คำสำคัญ: เครือข่ายทางสังคม, ความรับผิดชอบต่อสังคม, ซูซูกิสวิฟท์

 

Abstract

               This study aimed to investigate how Suzuki Swift driver group choose to join a social network of Suzuki Swift drivers group, how they manage the network, what factors influence their making decision in joining the network or the club, and how they run social responsibility activities. This study is a qualitative phenomenological research, examining Suzuki Swift driver’s group experience and related phenomenon. Data was collected through in-depth interviews andparticipant observation from six respondents whose selection method was purposive sampling.Includingclub directors’ staff and member.

               Findings from interviewing showed that this kind of network is similar to a circle of friends or family. They get to know and stay connected to each other via the social network and use social media as a means of both internal and external communication. They are open for the new ones to take part in, to make conversation, and to share their Suzuki Swift knowledge and experience. Also, it was found that the club is rather unofficial; its operation is run by the chairman, committee, and staff of the club who work to collaborate and communicate with the club members, given that they call for cooperation from them based on the rules that are acceptable to the majority. With regard to factors that influence their making decision in joining the club, it was found that their decision-making process is semi-structured. They plan a decision making process in advance and let their experience be the deciding factor. In terms of social responsibility activities, the club is encouraged to hold such activities every year with the members’ support that is beyond expectation.

               Findings, conclusions and implications of this study can be utilized as guidance for managing a social network and running social responsibility activities in the future.

Keywords: Social Network, Corporate Social Responsibility, Suzuki Swift

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ