องค์กรเสมือนจริงเพื่อการศึกษาของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สมใจ เดชบำรุง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) รูปแบบองค์กรเสมือนจริงเพื่อการศึกษาของกรุงเทพ มหานคร 2) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้เป็นบุคคล ภายนอก) เกี่ยวกับรูปแบบองค์กรเสมือนจริงเพื่อการศึกษาของกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยประกอบ ด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร ข้อมูล  ตำรา แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย หาคุณภาพของเครื่องมือ  ขั้นตอนที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนสังกัดกทม. 205 โรง โดยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 1 สัปดาห์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ  วิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล  วิเคราะห์เปรียบเทียบ  ค่าเฉลี่ย  โดยการทดสอบ  F-test (ANOVA) ทดสอบรายคู่โดย Scheffe’s test  และวิเคราะห์คำถามแบบปลายเปิด  โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

               1.  รูปแบบองค์กรเสมือนจริงเพื่อการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ   1) กฎหมาย   2) การจัดการเรียนรู้   3) การสืบค้นข้อมูล   4) โครงสร้างองค์กร   5) เครือข่ายข้อมูลข่าสาร  6) การมีส่วนร่วม 7) การยืดหยุ่น  8) การให้บริการ 9) การวางแผน 10) การปฏิบัติงาน 11) วัฒนธรรมการทำงาน และ 12) ทักษะการทำงาน

               2.  รูปแบบองค์กรเสมือนจริงเพื่อการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้เป็นบุคคลภายนอก)  พบว่า   ผู้ให้ข้อมูลทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกัน  ยกเว้น  องค์ประกอบที่ 5,10,11 แตกต่างกัน เมื่อนำมาทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการวิเคราะห์ พบว่า องค์ประกอบที่ 5 เครือข่ายข้อมูลข่าวสาร องค์ประกอบที่ 10 การปฏิบัติงานและองค์ประกอบที่ 11 วัฒนธรรมการทำงาน ผู้บริหารกับตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้เป็นบุคคลภายนอก) มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  โดยองค์ประกอบที่ 5 , องค์ประกอบที่ 10 และองค์ประกอบที่ 11  ความคิดเห็นของผู้บริหาร  อยู่ในระดับมากกว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้เป็นบุคคลภายนอก)

คำสำคัญ : องค์การเสมือนจริง , องค์กรการศึกษา

Abstract

               The purposes of this research were to determine : 1) the model of virtual  organization for education of Bangkok Metropolitan, 2)  the model  for  virtual  organization  model for education of Bangkok Metropolitan through the opinion of administrators, teachers and representatives of basic school committee members (outsiders). The research  method composed of ; first stage, studying the documents data concepts, theories and  related research work and interviewing the specialists; second stage, constructing and  developing research instrument and finding the instrument quality; stage three, collecting  the data, for one week from samples in 205 schools under Bangkok Metropolitan. Data  were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factors  analysis, canonical correlation analysis, F-test (ANOVA) accomparied with testing by  Scheffe’s  method  and  open  ended  question  by  content  analysis.                   

               The results of research found that:

               1.  Virtual organization model for education  of  Bangkok Metropolitan  composed  of 12 factors. They were 1) law, 2) learning management, 3) searchableness, 4) organization structure,  5) information network,  6) participation,  7) flexibility,  8) service, 9) planning, 10) operation, 11) work culture, 12). job skills 

               2.  Virtual organization model for education of Bangkok  Metropolitan through  the  opinion of administrators, teachers and representatives of basic education committee  members (outsiders) revealed that the three groups had the opinion in the some direction  excepting the 5th, 10th and 11th  factors which were significantly different, when pair  tested  for the difference, it revealed that the 5th factors information network, 10th factors  operation and 11th factor work culture, the opinion of  administrators,  and  representatives  of  basic  education  committee  members  (outsiders)  were  different  statistically  at  0.05 level of significance. The 5th factors ,  the  10th factors and 11th factor, the opinion of  administrators were higher level than representatives of basic education committee  members  (outsiders). 

Key  Word : Virtual   Organization ,  Educational  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ