พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

Main Article Content

สุดา สมอแก้ว
สุเทพ ลิ่มอรุณ
ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษา      2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา และ 3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสายงานปฏิบัติการสอน จำนวน 259 คน โดยคำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

               ผลการวิจัยพบว่า 

               1. พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการเป็นผู้นำ อยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์อยู่ในอันดับต่ำสุด

               2. การดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียนอยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อนักเรียนอยู่ในอันดับต่ำสุด

               3. พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มี 3 ด้าน คือ  ด้านการสื่อสารแบบเปิด ด้านการเป็นผู้นำ และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ร่วมกันส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01  มีประสิทธิภาพในการทำนาย คิดเป็นร้อยละ 34.40

คำสำคัญ : พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

Abstract

               The purposes of this research were to study : 1) the teamwork behavior of educational personnel in schools, 2) the operation on the students care and support system in schools, and 3) the teamwork behavior of educational personnel in school effecting student care and support system in Prachuapkhirikhan province under the Secondary Educational Service Area Office 10. The Sample consisted of administrators and  teachers of schools were 259,  informants calculated by the formula of Taro Yamane. The instrument was a 5 level scale questionnaire. The collected data were analyzed by  fuquay percentage, mean, standard deviation, and  stepwise  multiple  regression analysis.

               The research results :

               1.  The teamwork behavior of educational personnel as a whole and each aspect, was at high  level, that is, the aspect of the leadership was at the highest level, next below, the participation, and  the human relationship was the lowest level.

               2.  The operation on the students care and support system in schools, as a whole  and each aspect, was at high level. promoting student development was at the highest level,  next below the problem solving and prevention, and the transmission of student information was at the lowest level.

               3.  The teamwork behavior of educational personnel in school effecting student care and support system were the open communication, the leadership, and  the human relationship in the statistical significance at .01, and had the predictive efficiency at the rate of 34.40 percent.

Keys word: The teamwork behavior, student care and support system.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ