การศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรพหุวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

อรุณ บัวจีน

Abstract

บทคัดย่อ   

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเตรียมความพร้อม           การประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรพหุวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการศึกษารูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย 3 แห่ง ที่มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพหุวิทยาการ ระดับบัณฑิตศึกษา และนำมาตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรพหุวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่สมควรดำเนินการ จากผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา และการบริหารหลักสูตรพหุวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ความถี่ และค่าร้อยละ (%)

               ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสกอ. ที่สมควรดำเนินการ ซึ่งมีคะแนนร้อยละของความถี่สูงสุด (คะแนนร้อยละของความถี่ 91.92) คือ รูปแบบที่ 1 การดำเนินการจำนวน 6 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้ (ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 กระบวนการพัฒนาแผน องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต  ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูลข่าวสาร องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ระบบบริหารความเสี่ยง องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน)   

               นอกจากนี้ ยังพบว่า รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกตามตัวบ่งชี้ของสมศ. ที่สมควรดำเนินการ ซึ่งมีคะแนนร้อยละของความถี่สูงสุด (คะแนนร้อยละของความถี่ 85.18) คือ รูปแบบที่ 1  การดำเนินการ จำนวน 2 ด้าน 3 ตัวบ่งชี้ (ประกอบด้วย ด้านคุณภาพบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก  ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตัวบ่งชี้ที่ 10 การส่งเสริมและสนับสนุน  ด้านศิลปะและวัฒนธรรม)

Abstract

               The purposes of this research were to study and examine the suitability of preparing model for the quality assurance in multidisciplinary program of Graduate School, Silpakorn University. The instruments in this research were: 1) Study the process of internal and external quality assurance from three Universities which have the multidisciplinary in graduate program. And collecting data by using a structure interview in issues of administrative in multidisciplinary program and quality assurance including study information and related document. 2) Study information from visiting and questionnaires to determine the suitability of the model for quality assurance in multidisciplinary program of Graduate School, Silpakorn University.                       3) Questionnaires from 9 experts who have experiences in quality assurance and administrative in multidisciplinary program. Analyze data using frequency and percentage.

               The results were as follows: 1) The suitability process of internal quality assurance from office of the Higher Education commission is model 1 (91.92 %) Acting in 6 factors 11 indicators consist of

               Factor 1 philosophy vision objective and implement plan.

                             - Indicator 1.1 Development Process.

               Factor 2 producing of graduate student

                             - Indicator 2.1 systems and mechanisms for developing and managing program.

                             - Indicator 2.6 systems and mechanisms for teaching and learning.

                             - Indicator 2.7 systems and mechanisms for develop learning success of student.

               Factor 3 Activities for develop students

                               - Indicator 3.1 systems and mechanisms for consulting and information services.

               Factor 7 Administrations and Management

                             - Indicator 7.1 Leadership of administrator all levels of the institution.

                             - Indicator 7.2 Developing to institution of learning.

                             - Indicator 7.3 Information systems for administration and decision making.

                             - Indicator 7.4 Risk management system.

               Factor 8 Finance and Budgeting

                             - Systems of Financial and budgeting.

               Factor 9 Systems and mechanisms for quality assurance

                             - Systems and mechanisms for internal quality assurance.

In addition, The suitability process of external quality assurance from The office for National Education Standards and Quality Assessment is model 1 (85.18%) Acting in 2 factors 3 indicators consist of

               Factor 1  Quality of graduates

                             - Indicator 3 the research of master degree have been published.

                             - Indicator 4 the research of doctorate degree have been published.

               Factor 2 Arts and Cultural Preservation

                             - Indicator 10 supporting activities in arts and culture.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ