ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

อิสรนันท์ ทรงเนติเชาวลิต
ฐิติมา เวชพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของคณะกรรมการ การได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานจำแนกตามคุณลักษณะของคณะกรรมการและการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของคณะกรรมการและการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 319 คน เป็นประธาน 156 คน เป็นกรรมการ 163 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test  วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) และการถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) โดยวิธีนำเข้า (Enter) ผลการวิจัยพบว่า

               คุณลักษณะของคณะกรรมการในภาพรวม คณะกรรมการมีประสบการณ์ในการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมากกว่า 4 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมศึกษาดูงานอย่างน้อยจำนวน  1 ครั้ง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ การได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่คุณลักษณะของคณะกรรมการ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ประสบการณ์ในการบริหารกลุ่ม การได้รับการฝึกอบรมศึกษาดูงาน ภาวะผู้นำของคณะกรรมการ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ และการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่แตกต่างกัน มีผลทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดนครปฐมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ามี 5 ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ภาวะผู้นำของคณะกรรมการ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ ความรู้ความเข้าใจของคณะกรรมการ ประสบการณ์ในการบริหารกลุ่ม และการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สำหรับแนวทางการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้แก่ การกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการใช้จ่ายเงินของสมาชิก การจัดทำแผนการส่งใช้เงินคืน การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการด้านการจัดทำบัญชี การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการและสมาชิก และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 

Abstract

               This research aims at studying the characteristics of committees, the support received from the community development officials and the comparison of operational efficiency categorized by the committees’ characteristics and the officials’ support. In addition, the characteristics of committees and the support received from the community development officials that influence the operational efficiency is examined and the obstacles and operational approaches of the savings for production groups in Nakhon Pathom province are analyzed. The sampling of 319 respondents is specifically selected to constitute a number of 156 presidents and 163 committees of the groups. The questionnaire is employed for data collection and then the data analysis is conducted by calculation of percentage, arithmetic average, standard deviation, t-test and the multiple regression analysis. The findings for study are shown as the following.

               The characteristics of committees, in an overall picture, are that the committees’ experience in administrating the savings for production groups is over 4 years and most of committees attend the training and study visit at least once. The committees have leaderships and knowledge and understanding concerning the groups. As a whole, the participation of committees, the support received from the community development officials and the operational efficiency is in high rank. Additionally, the committees’ characteristics such as knowledge and understanding concerning the group, the experience in administrating the group, the training and study visit, the leaderships, the participation of committees and the support received from the community development officials substantially influence the operational efficiency resulting in the statistical difference at the level of 0.05. The findings also illustrate 5 variables that significantly affect the operational efficiency of the savings for production groups in Nakhon Pathom province resulting in statistic at the level of 0.05. These variables are the characteristics of committees like leaderships, participation, knowledge and understanding, experience in administrating group and support received from the community development officials. Besides, the operational approaches of the savings for production group are displayed, that is, the determination of monitoring plan and the evaluation of members’ expenditures, the enhancement of committees’ competence in accounting, the arrangement of learning and sharing activity between committees and members and the compliance with rules and regulations of the groups.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ