ดนตรีในวิถีชีวิตของไทยทรงดำ บ้านหัวซุกบัว ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

การุณย์ ด่านประดิษฐ์

Abstract

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์การวิจัย  :   เพื่อศึกษาดนตรีพิธีกรรมและดนตรีเพื่อความบันเทิงในวิถีชีวิตของไทยทรงดำ บ้านหัวซุกบัว ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  รูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยดุริยางควิทยา (ethnomusicology)  วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ  ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นนักดนตรี นักร้อง  นักแสดง บ้านหัวซุกบัว ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม   เลือกมาทั้งหมดตามคุณสมบัติที่กำหนด ซึ่งมีจำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการศึกษาภาคสนาม  ในช่วงเดือนมีนาคม  2555 – พฤศจิกายน 2555  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content  analysis) ทางมานุษยดุริยางควิทยา ผลการวิจัย: ดนตรีสำหรับพิธีกรรมของไทยทรงดำ บ้านหัวซุกบัว   ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่เสนสั้น และปี่เสนยาว  มีกระบอกไม้ไผ่ ไม้กระดานรองกระทุ้งกระบอกไม้ไผ่ และโอ่ง เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ มีบทบาทในพิธีไหว้ครู ประกอบการขับร้องและบรรเลง ใช้เพลงพื้น และเพลงเซิ้ง  เนื้อหาขอคำร้อง กล่าวถึง การไหว้บรรพบุรุษแทนการขอพร การสู่ขวัญ คำสอนที่แฝงแง่คิด การเป่าปี่เสน พิธีกรรม คติความเชื่อ เกี่ยวกับไทยทรงดำ ตั้งแต่ครั้งอยู่สิบสองปันนา

            ดนตรีสำหรับความบันเทิงพบเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญด้านส่งเสริมความสนุกสนาม คือ แคน เครื่องดนตรีที่ติดตัวมาตั้งแต่สิบสองปันนา เป่าลายสุดสะแนน และลายอื่นๆ เพลงรำวง ลูกทุ่ง มีเครื่องดนตรีเท่าที่หาได้ประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองใหญ่  กลองทริโอ  ฉิ่ง  ฉาบเล็ก  ฉาบใหญ่  ตะกรับ  หรือกรับ และเครื่องขยายเสียงพร้อมรถเข็น ทำการบรรเลงหลังพิธีกรรม โดยแบ่งกลุ่มเพลงเป็นเพื่อความบันเทิงและเพลงกล่อมลูก มีนักร้องนักดนตรี รวมถึงนางรำประกอบการบรรเลง พร้อมมีการสืบทอดอย่างต่อเนื่อง

Abstract

               Purpose: To study ritual music and to analyze music for entertainment of Thai Song Dam People at Ban Huasugbua, Tambon Sapattana, Kampangsan District, Nakhon  Pathom  Province. Design: Qualitative research in music anthropology design Methods:  The  samples were all 20 informants were selected by specified criterion from Musician,singer and player, Thai Song Dam People at Ban Huasugbua, Tambon Sapattana, Kampangsan District, Nakorn Pathom Province. Data  were  collected by In-dept interviewed and field study during   March to November 2012.  Content  analysis and music anthropology method was used in data  analysis. Findings: The  musical instruments for ritual music of Thai Song Dam consisted of  short  and a long pi saen pipes,  bamboo tubes , bamboo tubes with stamping boards and jar. These instruments were played and used for the accompaniment of singing. Types of song consist of folk song and phleng soeng song (call and response song.) The sons’ contents were concerned with paying homage to the ancestors and Thaen god, asking for blessing, soul comfort, and proverbs with the hidden ideas. This music was transmitted from the Thai Dam ancestors in their home towns in Sipsong Panna province.

               The principal  instrument used for the entertainment was a khaen mouth organ, which was brought along from Sipsong Panna. Various percussion instruments were added; they were : a big drum, a trio drum, ching cymbals, small chap cymbals, large chap cymbals, takrap or krap clappers and loud speakers on the cart. The music were performed after the ritual was ended. There were two types of music, entertainment music and lullaby. The singers, dancers and musicians were inherited continuously.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ