การพัฒนาแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ

Main Article Content

ธนิตย์ เพียรมณีวงศ์
วิสูตร โพธิ์เงิน

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์สู่งานทัศนศิลป์ในรายวิชาศิลปะพื้นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน  โดยใช้แบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ 3)  เพื่อศึกษาผลงานทัศนศิลป์ของนักเรียน หลังการใช้แบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ จำนวน 30 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ระยะเวลา 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1) แบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย)  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์  3) ผลงานทัศนศิลป์ของนักเรียน หลังการใช้แบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์  4) ความพึงพอใจต่อการเรียนแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า

               1.  แบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด(80/80)สูงกว่าเกณฑ์ คือ 94.22/97 

               2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์  โดยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 24.60 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 29.10 และค่า T-test เท่ากับ 10.07 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               3.  ผลระดับคะแนนของผลงานทัศนศิลป์ของนักเรียน หลังการใช้แบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯจำนวน 30 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก ( =  9.76 , S.D. = 0.37) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 

               4.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะด้วยตนเองทางทัศนธาตุ และองค์ประกอบศิลป์สู่การสร้างงานทัศนศิลป์ ในภาพรวมอยู่ในระดับที่มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( =  4.45 , S.D. = 0.59)

คำสำคัญ : แบบฝึกทักษะด้วยตนเอง /ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์/ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

Abstract

               This research aims 1) to study and develop for an effectiveness of the skill practices in visual art elements and compositions for upper secondary students, 2) to compare students’ learning achievement before and after utilizing the skill practices, 3) to study the progress of the students on their visual art work after the use of the skill practices, and 4) to investigate the students’ satisfaction after being taught with the skill practices. The experimental group consisted of 30 students in Mathayomsuksa 5 of Saint Gabriel’s School, Bangkok. The study was conducted within 16 periods, in the second semester of the school year. The instruments of this study were 1) the skill practices in visual art elements and compositions for secondary school students, 2) learning achievement of the students before and after utilizing the skill practice, 3) the progress of the students on their visual art work, and 4) the students’ satisfaction after being taught with the skill practice.

               The findings of the study were as follows:

               1)  The self-skill practices reached the efficiency that compared the percentage of formative assessment score = 94.22 with the summative assessment scores = 97 which was higher than the established requirement of 80/80.

               2)  The learning achievement scores of the students before and after utilizing the skill practices in posttest were significantly higher than pre-test scores at the .05 level.

               3)  The scores of the students’ visual art work after the using the skill practice were at the very high level (X= 9.76, S.D. = 0.37).

               4)  The students’ satisfaction towards the skill practices was at the highest level X= 4.45, S.D. = 0.59).

Keywords: the skill practices / visual art element and compositions/ upper secondary students

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ