การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

โกวิทย์ พวงงาม
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ
ทัศนีย์ บัวคำ
สุวรรณา มานะโรจนานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ ได้แก่ (1)เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุขที่จัดตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) (2)เพื่อศึกษาถึงความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณสุขระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์บริการสาธารณสุขกับหน่วยงานสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ รวมถึงการจัดระบบสนับสนุนการบริหารจัดบริการสาธารณสุขในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการด้านสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยสนาม (Field  Research) โดยใช้การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การสัมภาษณ์เชิงลึก  การสนทนากลุ่ม  การวิจัยเชิงสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการรับบริการศูนย์บริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำหรับการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Sampling) ส่วนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการคัดเลือกพื้นที่แบบเจาะจง(Purposive Selection) เครื่องมือในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แนวทางสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

               1.  สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุข ที่จัดตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล จัดตั้งโดยมติของคณะผู้บริหารท้องถิ่น โครงสร้างการบริหารของศูนย์บริการสาธารณสุข พบว่า มีโครงสร้างการบริหารที่คล้ายคลึงกันคือ ผู้บริหารศูนย์บริการสาธารณสุขประกอบด้วย (1)ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข (2)หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขหรือผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข บุคลากรผู้ปฏิบัติในศูนย์บริการสาธารณสุข พบว่า เทศบาลนครมีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขครบ 4 สายงานได้แก่ แพทย์  พยาบาลวิชาชีพหรือพยาบาลเวชปฏิบัติ  นักวิชาการสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน และ ทันตาภิบาลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.22 ส่วนงบประมาณสนับสนุนในการจัดตั้งศูนย์บริการสาธารณสุข พบว่า ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดตั้งศูนย์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตามลำดับ การได้รับการสนับสนุนบุคลากรของศูนย์ฯ ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนบุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจากกระทรวงสาธารณสุขในตำแหน่งพยาบาลเวชปฏิบัติและพยาบาลวิชาชีพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของศูนย์ฯ ส่วนใหญ่พัฒนาบุคลากรโดยการสนับสนุนการศึกษา ด้านการฝึกอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน ส่วนการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวม กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขจะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสูงที่สุด โดยระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในศูนย์ฯของอาสาสมัครประเภทเทศบาลนครและประเภทเทศบาลเมืองที่มีงบประมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมีส่วนร่วมในระดับมาก ส่วนประเภทเทศบาลเมืองที่มีงบประมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยและเทศบาลตำบลมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง โดยกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขจะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคมากที่สุด และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการรักษาพยาบาลต่ำที่สุด การดำเนินงานสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมมีการดำเนินงานด้านรักษาพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด

            2.  ผลการศึกษาถึงความร่วมมือกับหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนางานด้านบริการสุขภาพ พบว่า ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองที่มีงบประมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเภทเทศบาลเมืองที่มีงบประมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยและประเภทเทศบาลตำบลมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพัฒนางานด้านการบริการสุขภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50, 3.58 และ3.58 ตามลำดับ)

               3.  ความพึงพอใจในบริการของศูนย์บริการสาธารณสุข ที่ตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล พบว่า โดยภาพรวมประชาชนผู้ใช้บริการ ประชาคมหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความพึงพอใจในบริการของศูนย์บริการสาธารณสุขและการดำเนินงานของศูนย์ฯอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

               An Analysis of Public Health Service Management Situation in Local Administrative Organization Areas has 3 purposes, namely, (1) to analyze situation of public health service management of the public health centers established by Local Administration Organizations (LAO); (2)to study the cooperation on public health among local administration organizations, public health centers, and public health offices of Ministry of Public Health, either in provincial or district level, including arrangement of supporting system in the area governed by Local Administration Organizations; and (3) to study the satisfaction of people served by public health centers of Local Administration Organizations. This research used Field Research method conducting documentary research, in-depth interview and group discussion. Furthermore, in research investigating such satisfaction of people in public health centers provided by Local Administration Organizations, the samples were separated into 2 groups. The first group was selected by Cluster Sampling technique for a quantitative method and other group was selected by a Purposive Selection technique for a qualitative method. To collect the data, the researchers used questionnaires, in-depth interview, semi-structure interview, interviewing guideline, and group discussion. The results were as follows;

               1.  The situation of public health service management of the public health centers established by Local Administration Organization (LAO); city municipality, town municipality, and sub-district municipality, under resolution of local administration committee was that there were similar management structure as follows; the executives of public health centers consisted of (1) Director of public health division, (2) Head or director of health centers; the officers in public health centers of city municipality consist of all 4 lines, namely, doctor, registered nurse or nurse practitioner, public health technical officer or local public health officer, and the most officers were dental nurse at 22.22%. Regarding budget for establishing public health centers, it found that the budget was provided by Local Administration Organizations, National Health Security Office (NHSO), and Department of Local Administration, respectively. In support personnel from Local Administration Organizations and Ministry of Public Health, it, mainly, came for nurse practitioners and registered nurses. For proficiency development in personnel, the human resource development was conducted by supporting in education, training/seminar/study project. For overall involvement with related parties, public health volunteers had the highest involvement in operation. The volunteers from city municipality and town municipality with lower-than-average budget had high involvement, while the volunteers from town municipality with higher-than-average budget and sub district municipality had moderate involvement. The volunteers had the highest involvement rate in the field of disease prevention control and the lowest involvement in medical care, while the public health centers governed by Local Administration Organizations had the highest level of medical care operation.

               2.  The study result on cooperation among organizations in Ministry of Public Health to develop healthcare service was that the health centers established by local administration organizations, city municipality with lower-than-average budget, town municipality with higher-than-average budget, and sub-district municipality, had great cooperation with the other organizations in Ministry of Public Health (average level were 4.50, 3.58, and 3.58 respectively).

               3.  The survey result on satisfaction in service of public health centers established by local administration organizations; city municipality, town municipality was that people receiving service from village community and public health volunteers were highly appreciated in services and operations of public health centers.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ