ภาวะผู้นำพลังบวกกับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมบริการ กรณีศึกษา การสร้างแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจ ของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย

Main Article Content

ศุภวัตร มี พร้อม

Abstract

บทคัดย่อ

               รายงานการวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำพลังบวกกับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมบริการ กรณีศึกษา การสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ ของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในการทำงานของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังและความต้องการของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย และ 3) เพื่อศึกษาทักษะและการเรียนรู้ของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย ผู้ศึกษายังได้นำเอาทฤษฎีของภาวะผู้นำเชิงบวกมาประยุกต์ใช้หรือทฤษฎีตาม Appreciative Inquiry: AI เพื่อศึกษาพฤติกรรมในเรื่องของแรงจูงใจและแรงบันดาลใจของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงบวกของพนักงานในองค์กร โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In dept Interview) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานที่ทำงานอยู่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย จำนวน 100 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นจุดโดดเด่น (Divergence) ได้แก่ สวัสดิการและความมั่นคงขององค์กรสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน ผู้บริหารสาขาเป็นแบบอย่างที่ดี พนักงานสาขาทำงานร่วมกันเป็นทีม ด้วยความสามัคคี เสียสละ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร และการสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ คือ  ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน มีคุณธรรมและความยุติธรรม พนักงานมีความสามัคคีโดยประสานงานในการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีความสุขและรู้สึกมีแรงบันดาลใจและเกิดความผูกพันกับองค์กร รวมไปถึงการ สร้างบรรยากาศในการทำงานที่สร้างสรรค์ ผ่านการร่วมกันคิดและการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางในการทำงาน เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี ลดช่องว่างระหว่างตำแหน่งและเพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงานเกิดแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในการทำงานนำมาซึ่งการใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการอุทิศตนทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

 

ABSTRACT

               The research of Appreciative Leadership Application in service industry: A case study of Motivation and Inspiration in Krung Thai Bank Public Company Limited. The objectives were; 1) to study the motivation and inspiration of Krung Thai Bank officer, 2) to examine the expectations and needs of Krung Thai Bank officer and 3 ) to study skill, attitude and work learning of Krung Thai Bank officer. The study used the theory of appreciative leadership application or appreciative inquiry (AI). This research used qualitative research by using in-depth interviews employees in the Krung Thai Bank, which the results of 100 in-depth interviews. The result found the dominant factor (Divergence) of benefits and welfare was stability of the organization. The leader as a role model for working and has morality.  In addition, employees worked as a team and unity as well as creating an atmosphere of constructive work with the sacrifice to achieve organizational goals. Through, employee sharing of ideas, knowledge and worker learning. Furthermore employee established good relationships gap between the position.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ