การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

ธีราภรณ์ ชูชื่น
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย

Abstract

บทคัดย่อ

     (บทคัดย่อภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) ทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 4) ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ ในประเด็นต่อไปนี้             4.1 เปรียบเทียบผลการเรียนรู้  เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 4.2 ศึกษาความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ 4.3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์

       กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดน่วมกานนท์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แผนการจัดกิจกรรม แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์สร้างสรรค์ไทย-พม่าสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ One-Sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์  คาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์พม่า และมีการสร้างสรรค์ท่ารำขึ้นมาใหม่  โดยมีผู้รู้ในท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้และประเมินผล 2) ผลการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน       เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พม่า โดยครูและผู้รู้ในท้องถิ่นร่วมกันสอน ฝึกให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ท่ารำ รูปแบบแถว และการแต่งกาย โดยใช้เพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ สามารถนำไปแสดงในงานต่างๆได้ตามความเหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนี้แบ่งเป็นหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 6 หน่วย คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 มาเรียนนาฏศิลป์ไทย-พม่ากันเถอะ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรียนรู้นาฏศิลป์สองชาติ และนาฏศิลป์สร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เกริ่นนำรำไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 โยงใยนาฏศิลป์พม่า หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ลีลาสร้างสรรค์สัมพันธ์สองชาติ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ผลงานสร้างสรรค์ โดยจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นที่การปฏิบัติ มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 3) ผลการทดลองจัดกิจกรรม พบว่านักเรียนมีความสนใจ ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม นักเรียนร่วมกันทำงานสร้างสรรค์ท่ารำนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พม่า  ออกแบบการแปรแถว และออกแบบเครื่องแต่งกายของการแสดงนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์พม่า ได้เป็นอย่างดี ในการจัดการเรียนรู้ทุกหน่วยการเรียนรู้ ครูผู้สอนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้รู้ในท้องถิ่น นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ มีการเตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร สถานที่ และสื่อการเรียนรู้ นักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการเรียนรู้ ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การคิดสร้างสรรค์ ร่วมกันผลิตชิ้นงานตามความสนใจ 4) ผลการประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า 1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ อยู่ในระดับ ดีมาก 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอยู่ในระดับมาก                        และเห็นว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ ทำให้นักเรียนมีความรู้และฝึกให้มีทักษะในการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ:  การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์)

 

Abstract

     (บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The  purposes of  this  research  were 1) Study the basic information for the development of learner development activities on Thai and Burmese relationship creative dramatic arts for primary students. 2) Develop the learner development activities on Thai and Burmese relationship creative dramatic arts for primary students. 3) Try to arrange the learner development activities on Thai and Burmese relationship creative dramatic arts for primary students. 4) Assess the development of learner development activities on Thai and Burmese relationship creative dramatic arts for primary students 4.1 Compare the learning result of the creative dramatic of Thai and Burmese relationship after learning. 4.2 Study the ability to practice the creative dramatic of Thai and Burmese relationship. 4.3 Study the students’ satisfaction on the learner development activities.

In this research, it is demonstrated with the 20 grade 4-6 primary students. The tools of this research, are the development of learner development activities on Thai and Burmese relationship, the unit plans, the learning test, the competency assessment for the creative dramatic of Thai and Burmese relations and the satisfaction test of the students to the learner development activities that the information analysis is in the form of percentage, the mean value ( ), the standard deviation (S.D.), One-Sample T-test and the content analysis. The research results were as follow:  1) The result of basic information study is found that the students and the related people consider to the importance and would like to manage the learning about the creative dramatic arts of Thai and Burmese relationship. For the objective of this study, it is expected to distribute the basic knowledge about Thai dance, Burmese dance and the creative dance to the students that the learning management and assessment are arranged together with the local experts. 2)The result of the activity development for the learners is the development activities about the creative dramatic arts of Thai and Burmese relationship which is taught by teachers and the local experts. The learners learn how to create the dance, the pattern and the costume for the new song and for performimg appropriately in any occasions. The learner develppment activities are divided into 6 units. Unit 1 Learn Thai and Burmese dramatic arts. Unit 2 Learn two dramatic arts and creative dramatic arts. Unit 3 Learn Thai dance basics. Unit 4 Relate with Burmese dance. Unit 5 Create two national dramatic arts. Unit 6 Create dramatic arts by managing the learning by experience and focusing on the practice. Use the authentic assessment. 3) The result of activity management as of this the cooperation between the teachers and the local experts is found that the students are interested and intend to practice the activities that the students work together to create the new dance in Thai dance and Burmese, design the dress of Thai dance and Burmese dance and design the deployment nicely. For every unit of the learning management, teachers always exchange the opinions with the local experts, students and the related people. Moreover, it is prepared in all staffs, facilities and learning media, the students exchange the learning opinion to each other, the students practice to work in group and use the creativity to produce the result as interested. 4) The result of learning activity assessment and improvement is found that  1) the students have the learning result about the creative dramatic arts of Thai and Burmese relationship higher than 80% with significantly statistical level at 0.05 after the learning activity management. 2) The students’ competency about the creative dance of Thai and Burmese relationship is in the excellent level. 3) The students are satisfied with the learner development activities in the good level, especially the development of learner development activities on Thai and Burmese relationship creative dramatic arts. The students have more knowledge and practice well in the creativity skills.

Keyword: The development of learner development activities /Thai and Burmese  relationship dramatic arts)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ธีราภรณ์ ชูชื่น, Watnuamkanon school

teacher, Watnuamkanon school