การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

อาภา พูลขวัญ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรค ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรคของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรคของนักเรียนหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ 4) เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีวินัยใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และ 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม จำนวน 50 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้ 2)แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบประเมินผลงานนักเรียน 4) แบบประเมินพฤติกรรมการเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรค 5) แบบสอบถามความคิดเห็น  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรค มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.16/89.00 สูงกว่าเกณฑ์เกณฑ์ที่กำหนดไว้  2)ผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียน(X=17.80 , S.D. = 1.87) สูงกว่าก่อนเรียน(X=  13.30 , S.D. = 1.50)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) พฤติกรรมการเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรค ของนักเรียน หลังการใช้ชุดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี(X=13.14 , S.D. = 0.86)      4) สมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน หลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี 5) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้หลังเรียน อยู่ในระดับ เห็นด้วยมาก

Abstract

            The purposes of this research were  1)  to develop the learning package’s efficiency  under title  “Health Promotion in prevention of Disease”  to meet the set criterion of 80/80 ,    2)  to develop the students’s  learning outcome after learning with the package ,  3)  to study the students’s behavior in health promotion after learning with the package ,   4) to development the students’s competency in critical thinking and desirable characteristics  of self - discipline in learning motivation and task oriented characteristics , and   5) to study the students’s opinion toward the learning package. Samples were 50 Prathom Suksa 3 Students of Anuban nakhonpathom  school  in the second semester of academic year 2011 derived by simple random sampling technique. Instruments used the collect data were 1) the learning  package , 2) test of learning outcomes , 3) the students’s working performance assessment from 4) test of health promotion in prevention of disease , and 5) questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed for percentage , mean , standard deviation , t – test dependent and content analysis. The results found that :  1)  The learning package’s efficiency were at 83.16/89.00 which were higher than that of the set criterion.  2) The students learning outcome after learning with the package were higher (X=17.80 , S.D.=1.87) than that of before (X=13.30 , S.D.=1.50) with statistical  significant at .05.   3) The students health promotion behavior after learning with the package were at the high level (X=13.14 , S.D.=0.86)  4) The students’s competency in critical thinking and desirable characteristics  of self - discipline in learning motivation and task oriented were at the high level.  5) The students’s opinion toward the learning package were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ