การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภัทรญาณวิทยา

Main Article Content

จตุรงค์ ตรีรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ   เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ  ตามเกณฑ์  80/80  2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ  3)  ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง     เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนภัทรญาณวิทยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2554  จำนวน  1  ห้องเรียน   รวม  35  คน  โดยการสุ่มแบบยกชั้น

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1)  แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ  2)  บทเรียนอีเลิร์นนิงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  4)  แบบสอบถามความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย  (X)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)  และสถิติทดสอบที  แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.  ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 81.29/87.24 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  80/80 

            2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  หลังเรียนด้วยบทเรียน   อีเลิร์นนิง วิชาเทคโนโลยีสารเทศ  เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีมีนัยสำคัญ ที่ระดับ  .05  

            3.  พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องข้อมูลและ สารสนเทศ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  พบว่า  พฤติกรรมการเรียนที่นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุด  คือ การเข้าเรียนในเรื่องต่างๆ คิดเป็นร้อยละ  49.81  พฤติกรรมรองลงมา  คือ  การใช้ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร  คิดเป็นร้อยละ  11.13

            4.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  เรื่องข้อมูลและสารสนเทศ  พบว่า  นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  (  X= 4.25 , S.D. = 0.13)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  นักเรียนมีความพึงพอใจมากอันดับ  1  คือ  ด้านกิจกรรมการเรียนรู้  รองลงมา  คือ  ด้านรูปแบบ/ลักษณะของสื่อ

 

Abstract

            The purposes of this research were to : 1) develop e – learning on Technology Information subject on the topic of data and information had the efficiency of 80/80 criteria, 2) compare learning achievement in technology information on the topic of data and information before and after learning by using e – learning ,  3) study in students’ behavior of learning by using e – learning , and 4) study students’ satisfaction towards learning activities by using e – learning. The sample consisted of 35 students of Matthayomsuksa 1 during the academic year 2011 of Phattharayan Wittaya School.

            The instruments of this research were : 1) the framework interview of specialists for experts , 2) e – learning in technology information on the topic of data and information, 3) the achievement test , and 4) questionnaires on satisfaction towards learning activities by using e – learning. The statistical analysis employed were mean , standard deviation, and t – test dependence.

            The results of this research were as follows :

            1.  The efficiency of e – learning in technology information on the topic of data and information for Matthayomsuksa 1 had the efficient of 81.29/87.24 higher than the 80/80 criteria.

            2.  The learning achievement on data and information of Matthayomsuksa 1 students after learning by using e – learning were statistically significant higher than before learning at 0.05 level.

            3. The students’ behavior of learning by using e - learning on data and information by Matthayomsuksa 1 students to Phattharayan Wittaya School were 49.81% of students’ behavior on the topic of access to study on content followed by the topic of using channel  in communication were  11.13%.

            4. The students’ satisfaction towards learning activities by using e – learning.   On data one information were at a high level ( x = 4.25 , S.D. = 0.13). On the aspects of learning activities were at the highest , followed by forms of media.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ