การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้วิธีธรรมชาติ สำหรับนักศึกษาชาวเกาหลี

Main Article Content

สุชาดา ธูสรานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาชาวเกาหลีก่อนและหลังการทำแบบฝึก และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาชาวเกาหลีที่มีต่อกิจกรรมและแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชาวเกาหลีจากภาควิชาการล่ามและการแปลภาษาไทยของมหาวิทยาลัยฮันกุก ภาษาและกิจการต่างประเทศที่มาเรียนภาษาไทย หลักสูตรระยะสั้นของภาควิชาภาษาไทย ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารจำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังใช้แบบฝึก และ 3) แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาชาวเกาหลีที่มีต่อกิจกรรมและแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สูตร E  /E  เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึก ใช้ค่าสถิติ t-test แบบไม่อิสระจากกัน เปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาไทยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทำแบบฝึกทักษะการฟัง และค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ในการหาค่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. แบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.54/93.81 ซึ่ง แสดงว่าแบบฝึกมีประสิทธิภาพที่ยอมรับได้

            2. ผลสัมฤทธิ์การใช้แบบทดสอบทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารหลังใช้แบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้วิธีธรรมชาติตามแนวคิดของวิลเลียม ลิตเติลวูดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            3. นักศึกษาชาวเกาหลีมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับสูง

Abstract

This research aimed to develop and test the efficiency listening materials for Korean students to compare the students’ listening abilities before and after using the materials, and to survey the students’ opinions toward these materials.   The samples were 14 Korean students studying Thai Interpretation and Translation at Hunkuk University of Foreign Studies and taking a short course’ Faculty of Humanities and Societies of Burapha University. The instruments used for this experiment were: 1) Eight courses outline listening developed by the researcher, and Thai Communicative Listening Practice. 2) An English listening test was both as a pretest, and as a posttest. 3) A questionnaire used to survey the students’ opinions toward the effectiveness of the constructed materials. The data analysis used in the study were E /E  for students’ achievement, t-test (dependent) to compare students’ achievement before and after by using Thai Communicative Listening Practice and Mean (x) and Standard deviation (S.D.) to find the level of students’ opinions.  

            The results of the study showed that:

            1. The efficiency of the Thai Communicative Listening Practice was 85.54 / 93.81 . This means that the efficiency of the materials was at a good level.

            2. Students’ achievement after the experiment was significantly different from the experiment at .01 level.

            3. Students’ opinions towards to Thai Communicative Listening Practice were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ