การพัฒนาแบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาชั้นปี 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

วิชชุดา ขำประถม

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีอภิปัญญา 2) เปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านของนักศึกษาก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีอภิปัญญา 3) ศึกษาการใช้กลวิธีอภิปัญญาในการอ่านของนักศึกษา 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีอภิปัญญา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีอภิปัญญา จำนวน 8 บท 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน 3) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้กลวิธีอภิปัญญาในการอ่านซึ่งประกอบด้วย ข้อคำถาม 10 ข้อ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น และ 5) แผนการสอน 8 แผน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษฯ เท่ากับ 77.29/81.11 ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างหลังการใช้แบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษฯ สูงกว่าความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษก่อนใช้แบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3) นักศึกษาสามารถใช้กลวิธีอภิปัญญาในการอ่าน ได้แก่ กลวิธีการวางแผน กลวิธีการตรวจสอบ และกลวิธีการประเมินผล 4) นักศึกษามีความคิดเห็นที่ดีต่อแบบฝึกทักษะเสริมการอ่านภาษาอังกฤษฯ ทั้ง 8 บท ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

 

Abstract

            The purposes of the research were 1) to develop and test the efficiency of English supplementary reading materials using metacognitive strategies for first year students in the faculty of Engineering and Industrial Technology, Silpakorn University; 2) to compare the students' English reading ability before and after studying the English supplementary reading materials; 3) to study the students' using metacognitive strategies in reading, and 4) to survey the students' opinions on the materials. The subject consisted of 30 first year students of Engineering and Industrial Technology Faculty, Silpakorn University, Sanamchan Campus, Nakhon Pathom Province, during the second academic years 2011. The instruments used for gathering data consisted of: 1) eight units of English supplementary reading materials using metacognitive strategies; 2) an English proficiency test of reading was used as a pretest and posttest; 3) an interview form of using metacognitve strategies in reading; 4) a questionnaire was used for surveying the subjects' opinions on the efficiency of the constructed materials and 5) lesson plan 8 lessons. The experiment on English supplementary reading materials using metacognitive strategies was conducted during 20 hours sessions over a five-week period. The results of the study were as follows: 1) The efficiency of the materials was 77.29 and 81.11 percent for the reading practice tests and the posttest, respectively. This means that the constructed materials exceeded the expected criterion (75/75).; 2) The students' reading ability after studying the English supplementary reading materials was significantly higher than before studying the English supplementary reading materials at the 0.05 level.; 3) The students were able to use metacognitive strategies in reading: planning strategy, monitoring strategy, and evaluation strategy. and 4) The students' opinions on the eight units toward the English supplementary reading materials were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ