การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์ ด้วยการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย

Main Article Content

เลิศศิริ เต็มเปี่ยม

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยเชิงทดลอง  (Experimental Research )  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้  เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้  (2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่มีต่อการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2  จำนวนนักเรียน  40  คน  ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling) โดยวิธีจับสลาก ทดลองในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554  จำนวน 5 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง  ชั่วโมงละ  60  นาที  รวมระยะเวลา  10  ชั่วโมง  แบบแผนการวิจัย  คือ  แบบกลุ่มเดียวก่อนสอบและหลังสอบ  (One Group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1)  ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์  2)  แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์ จำนวน 5 แผน   3)  แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ   และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้      สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ (%)   ค่าเฉลี่ย (X)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  การทดสอบค่าที  แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test  Dependent)  และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์    หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2)  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้  เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์  โดยภาพรวมเห็นด้วยในระดับมาก  

 

Abstract

            The Purposes of this experimental research were to : 1) compare the learning outcome of Geographical Skills gained before and after by using the learning package for Prathomsuksa 6 students 2) study the students’ opinions of Prathomsuksa 6 students about the implementation  by using the learning package on Geographical skills.  The sample consisted 40 of Prathomsuksa 6/1 students during the second semester of academic year 2011, Sarasitphithayalai School, Banpong district, Ratchaburi Province, under the jurisdiction of the Prathomsuksa Education Office of Ratchaburi 2 . All 40 student are from simple random sampling, during the second semester of the academic year 2011, The research was conducted in a 60-minute period of two periods a week within the period of 10 hours in 5 weeks. The research design was one group pretest-posttest design.

            The instruments  employed to collect data were : 1)  a learning  package on Geographical Skills,  2) 5 lesson plans with the content on Geographical Skills,  3) a pre-test  and post-test  which contain 30 items  each on the topic of Geographical Skills , and  4)  a questionnaire inquiring students’ opinions about the implementation of by using the learning package on Geographical Skills. The collected data were analyzed by the statistical means of percentage (%), mean (X), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis.

            The findings were as follows:

           1. Incomparison, the learning outcome of Prathomsuksa 6 students gained after was found significantly higher than the learning outcome gained before by using this learning package at the level of .05

            2. The students’ opinions about the implementation by using this learning package on Geographical Skills were, overall, found at the high level. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ