การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ดวงพร อิ่มแสงจันทร์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  2) ศึกษาพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   3) ศึกษาความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   4)  ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี  จำนวน 44 คน ระยะเวลาการวิจัย ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้  แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน  และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที  t-test  แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

            ผลการวิจัยพบว่า 

            1.  ผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   

            2. พฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  

            3. ความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง  

            4.  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด     

 

Abstract

          The purposes of this experimental research were to: 1) compare the Mathayomsuksa 5 students’ learning outcomes on the philosophy of sufficiency economy and the national development of economy before and after the implementation of the project–based learning;  2) study Mathayomsuksa 5 students’ problem solving behaviors through the process of project–based learning;  3) study the Mathayomsuksa 5 students’ abilities to do project work and 4) study Mathayomsuksa 5 students’ opinions towards the project–based learning. The sample used for the study consisted of forty–four Mathayomsuksa 5/3 students at Phothawattanasenee School, 1st  semester of academic year 2011. They were randomly selected. The research instruments were lesson plans of the project–based learning on philosophy of sufficiency economy and the national development of economy, tests on philosophy of sufficiency economy and the national development of economy, an observation form of behavioral abilities to solve problems through the process of project–based learning, an assessment form of the abilities to do project work and a questionnaire used for surveying Mathayomsuksa 5 students’ opinions of towards the project–based learning. The data were analyzed by mean (X), standard deviation (S.D.) and t – test dependent .

             The results of the research were:

            1. The Mathayomsuksa 5 students’ learning outcomes on the philosophy of sufficiency economy and the national development of economy after the implementation of the project–based learning were significantly higher than before the implementation at .05 level.

            2. The behavioral abilities of Mathayomsuksa 5 students on problem solving through the process of project–based learning were fairly high in general.

            3. The abilities of Mathayomsuksa 5 students to do project work were high in general. 

            4. The opinions of Mathayomsuksa 5 students towards the project–based learning were the most agreeable in general.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ