การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

Main Article Content

ปิยะนันท์ ธีรานุวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ( Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง เรื่อง ประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) ศึกษาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนนักบุญเปโตร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 32 คน ซึ่งได้จากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง รวม 5 สัปดาห์

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) และ การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ( t-test Dependent )  ผลการวิจัยพบว่า

            1.  ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง ประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้พบว่า ผลการเรียนรู้หลังเรียน   (X= 27.97 , S.D. = 3.83 )  สูงกว่าก่อนเรียน  (X= 17.66, S.D. = 3.04 )  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2. ผลการศึกษาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วย  การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (X= 3.69, S.D. = 0.54)

            3.  ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X= 4.12, S.D. = 0.39 ) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ  ด้านเนื้อหา ด้านบรรยากาศ  และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ

Abstract

            The purposes of this experimental research were to: 1) compare the learning outcomes on important issues of Thai history before and after the implementation of Inquiry-Based Learning Approach 2) study Mathayomsuksa 4 students’ abilities in critical thinking through Inquiry-Based Learning Approach and 3) study Mathayomsuksa 4 students’ opinions towards Inquiry-Based Learning Approach. The sample consisted of thirty–two Mathayomsuksa 4/1 students at St. Peter School, 1st semester of academic year 2011.They were selected by simple random sampling method. The experiment was conducted for five consecutive weeks. The instruments used for this research included 1) lesson plans of learning activities on important issues of Thai history through Inquiry-Based Learning Approach 2) an achievement test 3) a critical thinking ability test and 4) a questionnaire of the students ’ opinions towards Inquiry-Based Learning Approach. The statistical analysis were accomplished by mean (), standard deviation (S.D.) and t-test dependent

            The results of the research were:

            1.  In comparison with the learning outcomes before and after learning about important issues of Thai history of students through Inquiry- Based Learning Approach. The learning outcomes after learning ( X= 27.97, S.D. = 3.83) were significantly higher than before learning (X= 17.66, S.D. = 3.04) at .05  level .

            2. The Mathayomsuksa 4 students’ abilities in critical thinking through Inquiry-Based Learning Approach were at the good level (X = 3.69, S.D. = 0.54).

            3. The Mathayomsuksa 4 students ’ opinions towards  Inquiry - Based Learning Approach were at the high level (X = 4.12, S.D. = 0.39).  The four areas were the learning usefulness, the learning content, the learning environment, and the learning activities that were arranged in order from the highest to the lowest respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ