การศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาของกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บรรณวิทย์ อุ่นเสรี

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการศูนย์สื่อการศึกษา  กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร   และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) กลุ่มของพนักงานกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแนวทางในการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา คือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม เรื่องการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้สื่อของบุคลากร กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เรื่อง รูปแบบในการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 3) แบบศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของ กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านการใช้โสตทัศนูปกรณ์ คือ ยังไม่มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการให้บริการสื่อและโสตทัศนูปกรณ์โดยตรง ด้านการใช้สื่อและโสตทัศนูปกรณ์พบว่า ไม่ทราบแหล่งบริการสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ภายนอกหน่วยงาน ขาดผู้ช่วยเหลือในการผลิตสื่อคุณภาพ ขาดงบประมาณในการจัดหาสื่อและโสตทัศนูปกรณ์และสื่อและโสตทัศนูปกรณ์มีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอกับความต้องการ ด้านการให้บริการ ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ให้บริการและขาดงานที่รับผิดชอบการจัดหาสื่อและความต้องการของกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร มีความต้องการด้านสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ในระดับมาก  (X= 3.51, S.D. = 0.92) ด้านการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาของ กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครพบว่ามีความต้องการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาในระดับมาก  (X= 4.23, S.D. = 0.63) ด้านความต้องการกิจกรรมของศูนย์สื่อการศึกษา ประกอบด้วย การให้ความรู้ การแสดงนิทรรศการ การจัดประชุมและกิจกรรมสันทนาการต่างๆและการจัดตั้งศูนย์ควรจัดตั้งรวมกับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2)  ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านแนวทางในการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษามีองค์ประกอบ  8 ประเด็น ได้แก่  2.1) นโยบายและเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา 2.2) บทบาทและหน้าที่ของศูนย์สื่อการศึกษา 2.3) การจัดรูปแบบการให้บริการของศูนย์สื่อการศึกษา 2.4) การจัดรูปแบบการนำเสนอสื่อการเรียนรู้ของศูนย์สื่อการศึกษา 2.5) การจัดเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ที่จะนำเสนอภายในของศูนย์สื่อการศึกษา 2.6) การจัดหน่วยงานหรือองค์กรภายในศูนย์สื่อการศึกษา 2.7) สถานที่ตั้งของหน่วยงาน 2.8) การดำเนินงานของหน่วยและงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน  และ 3) แนวทางในการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา  กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาในระดับเห็นด้วยมาก (X= 4.08, S.D. = 0.60)

 

Abstract

            The purposes of this research were to : 1)  Study of problem and needs in educational media center for Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan Administration and 2) Study of guide line for Educational media center of Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan Administration. The sample group by purposive sampling of this study is 40 of employees who are responsible in Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan Administration and Educational media center experts . The research instruments used in this research were :1) Questionnaire for survey of problem and needs of personal Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan ,2) Structural interview forms for experts of study ducational media center 3) The questionnaire for experts study guide line of media center for Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan Administration.

            The research result finds that 1) The problems of Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan, The use of visual aids is no central agency responsible for providing audio-visual media. The use of audio-visual media and found that do not know the source of audio-visual media and outside agencies. Lack of support in the production of quality media. Budget shortfall in the supply of media and audio-visual and audio-visual media, and are not subject to sufficient demand. The service. Staff shortages and lack of responsibility for providing the media Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan. Demand of audiovisual media at high level (X= 3.51, S.D. = 0.92). The Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan need of media center at high level (X= 4.23, S.D. = 0.63).  The activities of the educational needs of the knowledge, Exhibition, Conferences and various activities. The center should be established with the Department Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan  2) The experts, opinion were concluded in 8 aspects as 2.1) Follow Policies and goals 2.2) Roles and functions 2.3) Model of services 2.4) Presentations model 2.5) Media content 2.6) Center management of the center 2.7) Land of media center 2.8) Centers process and 3) The guide line of Educational media center for Environmental Sanitation Division Health Department Bangkok Metropolitan Administration by expert evaluate at high level (X= 4.08, S.D. = 0.60)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ