ผลการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

Main Article Content

เทพยพงษ์ เศษคึมบง

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์     ก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา สื่อการศึกษาเบื้องต้น เรื่อง การวิเคราะห์ระบบเพื่อการผลิตและการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษา ของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิง  แบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาผลงานการผลิตสื่อการสอนของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4) เพื่อศึกษาผลงานการสร้างสรรค์  วิกิของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาสังคมศึกษา และสาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 468 101 สื่อการศึกษาเบื้องต้น (Introduction to Educational Media) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 180 คน โดย  การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่าน      สื่อสังคมออนไลน์ 3) แบบประเมินความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) แบบสังเกตพฤติกรรมทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิเคราะห์ระบบเพื่อการผลิตและการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษา 6) แบบประเมินผลงานการผลิตสื่อการสอนของนักศึกษา 7) แบบประเมินผลงานการสร้างสรรค์วิกิของนักศึกษา 8) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.  ความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หลังเรียน (X= 4.15 และ S.D. = 0.68) สูงกว่าก่อนเรียน (X= 3.49 และ S.D. = 0.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนพฤติกรรมทาง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับดี

            2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา สื่อการศึกษาเบื้องต้น เรื่อง การวิเคราะห์ระบบเพื่อการผลิตและการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษา ของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หลังเรียน (X= 25.37 และ S.D. = 3.07) สูงกว่าก่อนเรียน (X= 19.12 และ S.D. = 5.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            3. ผลงานการผลิตสื่อการสอนของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่าน      สื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับดี (X= 2.67 และ S.D. = 0.44)

            4. ผลงานการสร้างสรรค์วิกิของนักศึกษาที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่าน         สื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับดีมาก (X= 3.57 และ S.D. = 0.63)

            5. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่าน            สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก(X= 4.13 และ S.D.= 0.74) ซึ่งพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากเป็นอันดับแรก

 

Abstract

            The purposes of this research were 1) to compare competency of using information and communication technology of students who learned with e-learning using collaborative learning via social media between before and after learning. 2) to compare learning achievement of students who learned with e-learning using collaborative learning via social media on the course of Introduction to Educational Media on the topic of System analysis for producing and utilizing educational technology media between pretest and posttest. 3) to study producing instructional media products of students who learned with e-learning using collaborative learning via social media. 4) to study wiki contributions of students who learned with e-learning using collaborative learning via social media. 5) to study the opinions of students towards e-learning using collaborative learning via social media. The sample used in the research consisted of 180 the second-year undergraduate students in Bachelor of Education Program in Thai, English, Social studies, Teaching Chinese as a foreign language Faculty of Education, Silpakorn University, who registered in 468 101 Introduction to Educational Media course in the second semester of academic year 2011 by simple random sampling.

            The instruments of this research were 1) 8 lesson plans on e-learning using collaborative learning via social media. 2) learning management system (LMS) using collaborative learning via social media. 3) competency of using information and communication technology test 4) behavior observation form of using information and communication technology. 5) the learning achievement test. 6) instructional media product evaluation form. 7) wiki contributions evaluation form. 8) questionnaire on students’ opinion towards e-learning using collaborative learning via social media. The collected data were analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent.

            The results of the research were as follows:

            1.  Competency of using information and communication technology of students who learned with e-learning using collaborative learning via social media, after learning (X= 4.15, S.D. = 0.68) was higher than before learning (X= 3.49, S.D. = 0.74) at 0.05 level of significance. And behavior of using information and communication technology was at good level.

            2.  Learning achievement of students who learned with e-learning using collaborative learning via social media on the course of Introduction to Educational Media on the topic of System analysis for producing and utilizing educational technology media, posttest (X= 25.37, S.D. = 3.07) was higher than pretest (X= 19.12, S.D. = 5.61) at 0.05 level of significance.

            3.  Producing instructional media products of students who learned with          e-learning using collaborative learning via social media was at good level. (X= 2.67, S.D. = 0.44)

            4.  Wiki contributions of students who learned with e-learning using collaborative learning via social media was at very good level. (X= 3.57, S.D. = 0.63)

            5. The opinion of students towards e-learning using collaborative learning via social media was high positive level. (X= 4.13, S.D. = 0.74) The use of e-learning using collaborative learning via social media was at the highest level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ