พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ตวงรัตน์ วาห์สะ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของบิดามารดา การควบคุมตนเอง การได้รับการส่งเสริมความซื่อสัตย์จากโรงเรียน และการเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถานภาพสมรสของบิดามารดา ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดา ระดับการศึกษาสูงสุดของมารดา และค่าใช้จ่ายที่นักเรียนได้รับ 3) ตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 367 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

 

ผลการวิจัย พบว่า

            1.  พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของบิดามารดา การควบคุมตนเอง การได้รับการส่งเสริมความซื่อสัตย์จากโรงเรียน การเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ และพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 อยู่ในระดับมาก

            2. พฤติกรรมความซื่อสัตย์นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับการศึกษาสูงสุดของบิดา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3.   การเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ การควบคุมตนเองและการได้รับการส่งเสริมความซื่อสัตย์จากโรงเรียน สามารถทำนายพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ร้อยละ 34.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Abstract

            The proposes of this study were 1) to examine student’s perception of parents’ honesty behavior , self-control, promotion of honesty behavior in school, self-appreciation of honesty and honesty behavior of level III students 2) to compare honesty behavior of level III students of different sex, education level, grade level, parents’ marital status, highest education level of father, highest education level of mother and expenses, 3) to investigate the variables determine honesty behavior of level III students. The sample comprised 381 students, derived by a multi-stage random sampling technique. The questionnaires were constructed by the researcher. Data were analyzed by percentage (%), mean (X), standard deviation (S.D.), t-test, One-Way ANOVA and stepwise multiple regression analysis.

            The results were:

            1.  perception of parents’ honesty behavior, self-control, promotion of honesty behavior in school, self-appreciation of honesty and honesty behavior of level III students were at high level.

            2.  Honesty behavior of level III students of different sex, education level, grade level and highest education level of father were significantly different at the level of .05.

            3.  self-appreciation of honesty, self-control promotion of honesty behavior in school in predicted of honesty behavior of level III students at a percentage of 34.3, with a statistical significance of .001.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ