การตรวจหาอายุคราบโลหิตด้วย Fourier Transform Infrared Spectroscopy

Main Article Content

สราวุธ แหยมศิริ และคณะ

Abstract

บทคัดย่อ

            คราบโลหิตของมนุษย์เป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ และมักจะพบในสถานที่เกิดเหตุ ในการศึกษานี้ใช้เทคนิค Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) ในการตรวจหาอายุของคราบโลหิต ทำการทดลองโดยนำโลหิตของมนุษย์มาหยดลงบนกระจกสไลด์แล้วปล่อยไว้ที่อุณหภูมิห้องที่ระยะเวลาต่าง ๆกัน จากนั้นนำมาเตรียมตัวอย่างโดยใช้วิธี KBr disc และวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTIR  

           สเปกตรัมของ IR ของคราบโลหิตแสดงองค์ประกอบของ N-H stretching ที่เลขคลื่น 3300 cm-1 ซึ่งพีคที่เกิดขึ้นมีลักษณะกว้าง เนื่องจากเกิดการซ้อนทับกันกับพีคของ O-H stretching ที่เลขคลื่นช่วงนี้ พบพีค Amide I และพีค Amide II ที่เลขคลื่น 1656 cm-1 และ 1538 cm-1  ตามลำดับ และพบพีคที่เลขคลื่น 1354 cm-1และ 1195 cm-1 ที่เกิดจาก PO4- stretching ของกรดนิวคลีอิก เมื่อนำพื้นที่ใต้พีคที่ช่วงเลขคลื่น 3700 – 3000 cm-1 (A3300) มาใช้ในการคำนวณเป็นอัตราส่วนของพื้นที่ที่วัดได้นี้กับพื้นที่ของพีคที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปในช่วงเลขคลื่น 770 – 730 cm-1(A744) เมื่อนำอัตราส่วนของพื้นที่พีค A3300/A744 มาพล็อตกราฟเทียบกับอายุของคราบโลหิต มีการลดลงเป็นเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญตามกราฟสมการเส้นตรง y= -2.613x + 667.2 (R2 = 1) เมื่อนำตัวอย่างคราบโลหิตจากแหล่งต่างๆ มาทำการวิเคราะห์หาอายุจากสมการ พบว่าสามารถประมาณอายุของคราบโลหิตได้ใกล้เคียงกับอายุจริงของโลหิต ดังนั้นการศึกษานี้มีความเหมาะสมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประมาณอายุของคราบโลหิตในที่เกิดเหตุได้

 

Abstract.

            The human bloodstains are important forensic evidence often found in the events concerned with crime. In this study, the technique of Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) was used to estimate the age of bloodstains. The sample was prepared by placing the bloodstain on microscope slide and kept at ambient temperature for various periods of time. The KBr disc technique was used to prepare the sample for the FTIR measurement.

            The IR spectra of the blood sample displayed a broad band of the N-H stretching at around 3300 cm-1. The band was usually found overlapping with the O-H stretching in the region. The amide I and amide II bands were found at the wavenumbers of 1656 cm-1and 1538 cm-1 respectively.  The band between 1354 cm-1 and 1195 cm-1 can be ascribed to the stretching of phosphate group in nucleic acid. The integrated area of the bands between 3700 cm-1- 3000 cm-1 (A3300) was used to calculate the ratio of the area to the area of the peak in the range of 770 - 730 cm-1 (A744). The A 744 peak was chosen because the peak area was found to be invariable in all samples.  The graph plotting A3300/A744 versus the age of sample displayed a decreasing trend with a linear regression equation, y = -2.613+667.2 (R2= 1).  The equation was then used to estimate the age of samples from different source. A good agreement between the estimated age of samples and the known values can be obtained.  The results thus showed the potential of the technique for the estimation of the age of bloodstains.

Article Details

Section
บทความ