การศึกษาความเครียดที่มีผลต่อการลงลายมือเขียนเพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการตรวจพิสูจน์

Main Article Content

สุรพล จันทร์สมศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับผลของความเครียดต่อลายมือชื่อหรือลายเซ็นของบุคคลว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร โดยทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังต่อไปนี้  1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล     2) แบบสอบถามบุคลิกภาพ    3)  แบบวัดความเครียดสวนปรุง(SPST – 20) 4) แบบประเมินความเห็นของผู้ชำนาญการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์  Version 13.0 โดยใช้การหา ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่า  t-test     F-test    และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe’ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการศึกษาวิจัยพบว่าความเครียดมีความสัมพันธ์เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับความเพี้ยนของลายมือชื่อ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความเครียดน้อยหรือภาวะปกติ กลับมีความเพี้ยนของลายมือชื่อค่อนข้างมาก ต่างจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความเครียดมาก กลับมีความเพี้ยนของลายมือชื่อน้อย แต่อย่างไรก็ตามค่าความเพี้ยนของลายมือชื่อที่เปรียบเทียบระหว่างภาวะปกติและภาวะเครียดก็ต่างกันน้อยมากซึ่งถือว่าไม่มีนัยทางสถิติ ทั้งนี้ผลดังกล่าวอาจจะเป็นผลมาจากตัวแปรอื่นๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนขึ้น เท่ากับว่าความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อความเพี้ยนของลายมือชื่อได้ แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ส่งผลต่อลักษณะเฉพาะของลายมือชื่อบุคคลแต่อย่างใด อีกทั้งข้อมูลจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า การวิจัยสามารถอธิบายความเพี้ยนของลายมือชื่อได้เพียง 22.9% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก

 

Abstract

            The study stresses that affect the signature for analysis

            This research aims to study the effects of stress on the signature or the signature of the person that is different or not by analyzing the samples from 30 people

            Tools used in this study were the following four parts: 1) the personal factors, 2) personality questionnaire 3) stress the garden to cook (SPST - 20) 4) assessment of the experts. Data Analysis Using SPSS for Social Science Version 13.0 by using percentage, mean, standard deviation test t-test F-test and the difference is coupled with the Scheffe 'coefficient. Pearson correlation coefficients. And multiple regression analysis

            The study found that stress is related to the contrast with the distortion of the signature. Samples with low or normal stress. I have signed quite a lot of distortion. Of samples with stress. There is less distortion of the signature. However, the distortion of the signature of the comparison between normal and I was very little difference which is not statistically significant. The result may be a result of other factors. We can not control the distortion up. Is that stress can affect the distortion of the signature. However, it is only a little. Not affect the identity of the signatory parties in any way. The data from the statistical analysis showed that The study describes the distortion of the signature of only 22.9% which is still in a very  low level.

Article Details

Section
บทความ